การบอกเวลาภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรมากมายเลยครับ และการอ่านเวลาภาษาอังกฤษน่าจะง่ายกว่าของภาษาไทยด้วยซ้ำไป อันนี้พูดในแง่ของการบอกเวลาแบบง่ายๆนะครับ มาเรียนรู้การอ่านบอกเวลากันดีกว่าครับ
การบอกเวลาภาษาอังกฤษ
- การบอกเวลาภาษาอังกฤษแบบง่ายๆ
- การบอกเวลาภาษาอังกฤษแบบไม่ง่าย
การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ มีทั้งการบอกเวลาแบบง่ายๆที่ใช้ในการสนทนาทั่วๆไป และอีกแบบหนึ่งคือการบอกเวลาแบบเป็นทางการ หรือแบบยากขึ้นมานึดหนึ่ง แต่จะว่ายากมันก็ไม่เชิง แต่มันก็จะงงๆหน่อย เพราะมีการนับนาทีแบบถอยหลังด้วย แต่คนไทยก็ใช้นะคับแบบนับถอยหลัง เช่น
- ก : นาย ตอนนี้กี่โมงแล้ว
- ข: อ๋อ อีกห้านาทีสี่โมงเย็น
เห็นไหมครับว่าการอ่านเวลาภาษาอังกฤษกับไทยก็ยังมีความคล้ายกันอยู่ดี เราแค่ทำความเข้าใจหน่อยเดียวแค่นั้นเอง
การบอกเวลาภาษาอังกฤษแบบง่ายๆ
→ คำว่า “เวลา” ภาษาอังกฤษคือ “Time” และการถามเวลาแบบง่ายๆ ใช้ได้ทุกสถานการณ์คือ
- What time is it?
ว็อท ไทม อิส อิท (มันเป็นเวลาเท่าไหร่)
- การตอบแบบง่ายๆคือ บอกชั่วโมง แล้วตามด้วยนาที โดยใช้รูปแบบการเขียนเวลาภาษาอังกฤษแบบ 12 ชั่วโมง เช่น
It’s 3:10. อิทส ธรี เท็น (มันคือ 3 นาฬิกา 10 นาที)
It’s 4: 15. อิทส ฟอ ฟิฟทีน (มันคือ 4 นาฬิกา 15 นาที)
It’s 6: 20. อิทส ซิกส เทว็นทิ (มันคือ 6 นาฬิกา 20 นาที)
It’s 10: 30. อิทส เท็น เธ๊อทิ (มันคือ 10 นาฬิกา 30 นาที)
It’s 11: 45. อิทส อิเล็ฝเฝิน (มันคือ 11 นาฬิกา 45 นาที)
- ถ้าไม่มีเศษนาทีก็ใช้คำว่า o’clock ต่อท้ายครับ เช่น
It’s 4 o’clock. อิทส ฟอ อะคล็อค (มันคือ 4 นาฬิกา)
It’s 6 o’clock. อิทส ฟอ อะคล็อค (มันคือ 4 นาฬิกา)
It’s 10 o’clock. อิทส ฟอ อะคล็อค (มันคือ 4 นาฬิกา)
ทีนี้ปัญหาก็คือว่า จะรู้ได้อย่างไรว่า 4 นาฬิกานั้น มันคือ ตีสี่ หรือ สี่โมงเย็น ถ้าเป็นการสนทนาปกติก็จะรู้กันอยู่แล้วว่าขณะนั้นเป็นเวลาอะไร แต่ถ้าเป็นการบอกเวลาตารางเดินรถ หรือเวลาเครื่องบินออก ก็จะมีคำต่อท้ายให้แน่ชัดลงไป คือ
a.m. เอ เอ็ม บอกเวลาหลังเที่ยงคืนถึงเที่ยงวัน (24:00-11:59)
p.m. พี เอ็ม บอกเวลาหลังเทียงวันถึงเที่ยงคืน (12:00-23:59)
The train arrives at 4 a.m. รถไฟมาถึงเวลา 4 นาฬิกา หลังเที่ยงคืน (ตีสี่)
The bus leave at 10 p.m. รถบัสออก เวลา 10 นาฬิกา หลังเที่ยงวัน (4 ทุ่ม)
การบอกเวลาภาษาอังกฤษแบบไม่ง่ายนัก
- จะบอกว่าแบบยาก ความจริงมันก็ไม่ยาก แต่มันไม่เหมือนกับของไทย เลยทำให้ดูคล้ายว่ามันยากนะ เพราะป็นการ บอกนาทีก่อน แล้วตามด้วยชั่วโมง
– ตั้งแต่นาทีที่ 1 – 30 ฝรั่งจะพูดว่า จะพูดว่า มันคือ………..นาที ผ่าน………….นาฬิกา (It’s …….past……..)
– ตั้งแต่นาทีที่ 31 -59 จะต้องนับถอยหลังว่า มันคือ…………นาที จะถึง………..นาฬิกา (It’s ……..to………)
อธิบายให้ฟังคงมองไม่เห็นภาพใช่ไหมครับ งั้นมาดูภาพประกอบกันเลย
การบอกเวลาแบบที่สองนี้จะมีคำที่ต้องจดจำเพิ่มเติมคือ
→ past พาสท ผ่าน
→ to ทู จะถึง
→ quater คว๊อเทอะ 15 นาที (1ใน 4)
→ half ฮาฟ 30 นาที (ครึ่งหนึ่ง)
มาดูตัวอย่างกันดีกว่านะครับ เสริมความเข้าใจ
1: 05 = เวลา 1 นาฬิกา 5 นาที
มันคือ 5 นาที ผ่าน 1 นาฬิกา
It’s five past one.
2. 10 = เวลา 2 นาฬิกา 10 นาที
มันคือ 10 นาที ผ่าน 2 นาฬิกา
It’s ten past two.
3. 15 = เวลา 3 นาฬิกา 15 นาที
มันคือ 15 นาที ผ่าน 3 นาฬิกา
It’s a quater past three.
4. 20 = เวลา 4 นาฬิกา 20 นาที
มันคือ 20 นาที ผ่าน 3 นาฬิกา
It’s twenty past four.
5. 25 = เวลา 5 นาฬิกา 25 นาที
มันคือ 25 นาที ผ่าน 5 นาฬิกา
It’s twenty-five past five.
6. 30 = เวลา 6 นาฬิกา 30 นาที
มันคือ 30 นาที ผ่าน 6 นาฬิกา
It’s half past six.
หลังจาก 30 นาทีแล้ว จะเป็นการนับถอยหลัง ว่าเหลืออีกกี่นาทีจะถึงกี่นาฬิกา คนไทยก็ใช้เหมือนกันครับ เช่นอีก 5 นาที 3 โมง เป็นต้น แตจะใช้ก็ต่อเมื่อนาทีมันเหลือน้อย
7. 35 = เวลา 7 นาฬิกา 35 นาที
มันคือ 25 นาที จะถึง 8 นาฬิกา
It’s twenty-five to eight.
8. 40 = เวลา 8 นาฬิกา 40 นาที
มันคือ 20 นาที จะถึง 9 นาฬิกา
It’s twenty to nine.
9. 45 = เวลา 9 นาฬิกา 45 นาที
มันคือ 15 นาที จะถึง 10 นาฬิกา
It’s a quater to ten.
10. 50 = เวลา 10 นาฬิกา 50 นาที
มันคือ 10 นาที จะถึง 11 นาฬิกา
It’s ten to eleven.
11. 55 = เวลา 11 นาฬิกา 55 นาที
มันคือ 5 นาที จะถึง 12 นาฬิกา
It’s five to twelve.
รูปแบบก็ประมาณนี้แหละครับ ฝึกฝนไปบ่อยๆ เดี๋ยวก็คล่องเอง ใหม่ๆอาจงงนิดหน่อยครับ เพราะมันต่างกันนิดเดียวแค่นั้นเอง
เรียนรู้เพิ่มเติม ⇒ การใช้ AM PM ⇐