อ้างอิง ภาษาอังกฤษ การเขียนเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษเขียนอย่างไร มาดูกัน!

การอ้างอิงเอกสาร (Citations) คือการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิงในงานเขียนต่างๆ การอ้างอิงควรจะอ้างอิงจากเอกสาร หรือแหล่งที่ชื่อถือได้ ว่าข้อมูลนั้นๆถูกต้อง ไม่ควรอ้างอิงจากแหล่งที่ไม่สามารถชื่อถือได้ เพราะข้อมูลที่ได้อาจจะไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

อ้างอิงภาษาอังกฤษ

การเขียนอ้างอิงภาษาอังกฤษ

การเขียนอ้างอิง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆดังนี้คือ

1. การอ้างอิงในเนื้อหา ให้ใช้วิธีการอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยระบุชื่อผู้เขียน ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าเอกสารไว้ข้างหลังของข้อความที่ต้องการอ้างอิง เช่น (Athikom, S, 2014, pp. 31)

2. การอ้างอิงท้ายบทความ ให้ระบุเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ท้ายบทความ โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามระบบ APA Style 6th ed.

ตัวอย่างเขียนบรรณานุกรม (References) ภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ

ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงต่อไปนี้ เป็นการแปลงจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฟษ ซึ่ง ม.กรุงเทพได้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพวารสาร โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดัน วารสารวิชาการเข้าสู่ฐานข้อมูล ACI ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระดับอาเซียน และฐานข้อมูล Scopus ซึ่งเป็นฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ดังนั้น กองบรรณาธิการวารสารฯ จึงกำหนดรูปแบบการเขียนบรรณานุกรมรายการที่อ้างอิงเป็นของคนไทย ดังนี้

1. ใช้รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมเป็นแบบ APA (American Psychological Association)

2. รายการอ้างอิงเป็นของคนไทยในบรรณานุกรมจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ โดยจัดเรียงคู่ กัน คือ เรียงบรรณานุกรมภาษาอังกฤษที่แปลขึ้นก่อน และตามด้วยบรรณานุกรมภาษาไทย และให้เรียงลำดับโดยยึดตัวอักษรภาษาอังกฤษในการเรียง

3. ชื่อเรื่อง (Title) จะต้องทำให้เป็น Thai Romanization (การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน) และต้องเป็นภาษาอังกฤษในวงเล็บเหลี่ยม […]

4. การทำการ Romanization นั้นจะยึดตามหลักสากลโดยใช้เกณฑ์ของ Library of congress สามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ website : https://www.loc.gov/catdir/cpso/roman.html

5. สำหรับการเขียน Thai Romanization แนะนำให้ใช้โปรแกรมแปลงสาส์น ที่พัฒนาโดย NECTEC http://164.115.23.167/plangsarn/index.php

6. โปรดดูตัวอย่างรูปแบบการเขียนแสดงตัวอย่างดังต่อไปนี้

หมายเหตุ การให้ผู้เขียนจัดเรียงลักษณะนี้เพื่อให้กองบรรณาธิการใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิง รูปแบบการเขียนแสดงตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. การอ้างอิงจากหนังสือ (Books)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title [Translated Title]. Place: Publisher

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ทฤษฎีและแนวทางการศึกษาสื่อสารมวลชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แบรนด์ เอจ.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Kaewthep, K. (2006). Thritsadī læ nǣothāng kānsưksā sư̄sānmūanchon (Phim khrang thī
4) [Theory and approach of mass communication (4th ed.)]. Bangkok: Brand Age.

2. การอ้างอิงจากบทในหนังสือ (Book Chapters)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of chapter [Translated Title of chapter ]. In Editor (Ed.),
Romanized Title of book [Translated Title of book] (Page). Place: Publisher.

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
นันทวัฒน์ ฉัตรอุทัย. (2549). อดอร์โนกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม: กรณีศึกษาเพลงสมัยนิยม. ใน ฐิรวุฒิ เสนาคำ
(บก.), เหลียวหน้าแลหลังวัฒนธรรมป๊อป (น. 81-126). กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Chatuthai, N. (2006). ʻOdō̜nō kap ʻutsāhakam watthanatham: Kō̜ranī sưksā phlēng samainiyom
[Adorno and cultural industry: The case study of popular music]. In T. Senakham (Ed.),
Līeo nā lǣ lang watthanatham pō̜p [The review of popular music] (pp. 81-126).
Bangkok: OS Printing House.

3. การอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ (Thesis/Dissertation)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of dissertation [Translated Title of dissertation] (Doctoral
thesis or Master’s thesis, University).

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
(Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒ
นบริหารศาสตร์).

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Hemmin, A. (2013). Phrưttikam kānchai læ khwāmkhithen kīeokap phon thī dai čhāk kānchai
khrư̄akhāi sangkhom ʻō̜nlai (Social Media) khō̜ng prachāchon nai khēt Krung Thēp
Mahā Nakhō̜n [Social media consumption behaviors and opinion towards results of
experiencing social media in Bangkok Metropolitan] (Master’s thesis, National Institute
of Development Administration).

4. การอ้างอิงจากเว็บไซต์ (Websites)
รูปแบบ (Format)
Romanized Author Author’s in original language. (Year, Month date). Romanized Title
[Translated Title]. Retrieved from URL

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
บลูมูน. (2553, 7 ตุลาคม). Group แบบใหม่ คุยกับกลุ่มเพื่อนได้ง่ายกว่าเดิม. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2559,
จาก http:// faceblog.in.th/2010/10/facebook-group-people/

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Bluemoon. (2010, October 7). Group bǣp mai khui kap klum phư̄an daingā yok wā doēm [New
group chat with new friends more easily than ever]. Retrieved April 26, 2016, from
http:// faceblog.in.th/2010/10/facebook-group-people/

5. การอ้างอิงจากการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ (Conference papers/proceedings)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of paper [Translated Title of paper]. In Editor (Ed.),
Romanized Title of conference [Translated Title of conference] (Pages). Place:
publisher.

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
สรชัย จำเนียรดำรงการ, และ คณิตสรณ์ สัมฤทธิ์เดชขจร (บก). (2558). สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ: ขา (ไม่) เคลื่อน
สำคัญกว่าขาขึ้น. ใน งานประชุมวิชาการ เรื่อง ปฎิรูประบบสุขภาพและชีวิต ปฎิรูป จิตสำนึก
ประชาธิปไตย ในโอกาส 9 ปี สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (น. 245-313). นนทบุรี:
สำนักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Chamniandamrongkarn, S., & Sumritdejkhajon, K. (Ed.). (2015). Samatchā sukkhaphāp hǣng
chāt : khā ( mai ) khlư̄an samkhan kwā khā khưn [National health assembly:
One (not) important than moving up]. In Ngān prachum wichākān rư̄ang padirūp
rabop sukkhaphāp læ chīwit padirūp čhitsamnưk prachāthipatai nai ʻōkāt kao pī
samnakngān Khana Kammakān sukkhaphāp hǣng chāt [A meeting of the
enlightenment and health system reforms in a nine-year of The National Health
Commission office] (pp. 245-313). Nonthaburi: The National Health Commission Office.

6. การอ้างอิงวารสาร (Journal)
รูปแบบ (Format)
Author. (Year). Romanized Title of article [Translated Title of article]. Title of Journal,
volume(issue), page-numbers.

ตัวอย่าง (Example)
ตัวอย่างต้นฉบับภาษาไทย
พราว อรุณรังสีเวช. (2560). สาเหตุและกลยุทธ์การแก้ปัญหาความรู้สึกไม่แน่นอนจากการสิ้นยุคของ
โปรแกรมแฟลซ. วารสารนักบริหาร, 37(1), 3-13.

ตัวอย่างแปลอ้างอิง
Arunrangsiwed, P. (2017). Sāhēt læ konlayut kān kǣ panhā khwāmrū sưk mai nǣnō̜n
čhāk kān sin yuk khō̜ng prōkrǣm fǣnsa [Solution when parting with my dear
flash: Identifying causesand uncertainty reduction strategies], Executive Journal,
37(1), 3-13.

อันนี้เป็นตัวอย่างการเขียนนะครับ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะมีรูปแบบการเขียนที่แตกต่างกัน ดังนั้นให้ยึดแนวการเขียนของแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นหลักนะครับ 

source: http://buacademicreview.bu.ac.th/exe_ref2.pdf

ขอ 5 ดาวให้บทเรียนด้วยครับผม...

คลิกดาวดวงที่ขวามือสุดเลยครับครับ...

Average rating 4.7 / 5. Vote count: 48

ยังไม่มีใครให้ดาว คุณคือคนแรก....

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *