กรอบอ้างอิงทางภาษาของสหภาพยุโรป (The Common European Framework of Reference for Languages : CEFR) คือ มาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษาที่สหภาพยุโรปจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ การสอน และการประเมินภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศ
CEFR
ในปี ค.ศ. ๒๐๐๒ สภาแห่งสหภาพยุโรปได้กำหนดให้ใช้กรอบอ้างอิง CEFRในการตรวจสอบความสามารถทางภาษา ปัจจุบันกรอบอ้างอิง CEFR ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นมาตรฐานในการจัดลำดับความสามารถทางภาษาของแต่ละบุคคล
คลิกดาว์นโหลด CEFR ฉบับภาษาอังกฤษ
CEFR ได้จำแนกผู้เรียนออกเป็น ๓ กลุ่มหลัก และแบ่งเป็น ๖ ระดับความสามารถ ดังนี้
Level | A | B | C | |||
group | ||||||
Level | Basic User | Independent User | Proflicient User | |||
Group | ผู้ใช้ภาษาขั้นพื้นฐาน | ผู้ใช้ภาษาขั้นอิสระ | ผู้ใช้ภาษาขั้นคล่องแคล่ว | |||
name | ||||||
Level | A1 | A2 | B1 | B2 | C1 | C2 |
Level | Breakthrough | Waystage or | Threshold or intermediate | Vantage or upper intermediate | Effective Operational Proficiency or advanced | Mastery or proficiency |
name | Or beginner | elementary |
ทั้งนี้ในแต่ละระดับได้กำหนดความสามารถในการใช้ภาษาไว้ ดังนี้
ระดับ | คำอธิบาย |
A1 | ผู้เรียนสามารถใช้และเข้าใจประโยคง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน สามารถแนะนำตัวเองและผู้อื่น |
ทั้งยังสามารถตั้งคำถามเกี่ยวกับบุคคลอื่นได้ เช่น เขาอยู่ที่ไหน รู้จักใครบ้าง มีอะไรบ้าง และตอบ | |
คำถามเหล่านี้ได้ ทั้งยังสามารถเข้าใจบทสนทาเมื่อคู่สนทนาพูดช้าและชัดเจน | |
A2 | ผู้เรียนสามารถใช้และเข้าใจประโยคในชีวิตประจำวันในระดับกลาง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัว |
การจับจ่ายใช้สอย สถานที่ ภูมิศาสตร์ การทำงาน และสามารถสื่อสารในประโยคในการแลกเปลี่ยน | |
ข้อมูลทั่วไป และการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถบรรยายความฝัน ความคาดหวัง ประวัติ สิ่งแวดล้อม และสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ | |
B1 | ผู้ เรียนสามารถพูด เขียน และจับใจความสำคัญของข้อความทั่ว ๆ ไปได้ เมื่อเป็นหัวข้อที่คุ้นเคยหรือสนใจ เช่น การทำงาน โรงเรียน เวลาว่าง ฯลฯ สามารถจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางในประเทศที่ใช้ภาษาได้ สามารถบรรยายประสบการณ์ เหตุการณ์ ความฝัน |
ความหวังพร้อมให้เหตุผลสั้น ๆ ได้ | |
B2 | ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาในระดับดี สามารถใช้ภาษา พูดและเขียนได้แทบทุกเรื่อง |
อย่างถูกต้องและคล่องแคล่วขึ้น รวมทั้งสามารถจะอ่านและทำความเข้าใจบทความที่มีเนื้อหา | |
ยากขึ้นได้ | |
C1 | ผู้ เรียนสามารถเข้าใจข้อความยาว ๆ ที่ซับซ้อนในหัวข้อหลากหลาย และเข้าใจความหมายแฝงได้ สามารถแสดงความคิดความรู้สึกของตนได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องหยุดคิดหาคำศัพท์ |
สามารถ ใช้ภาษาทั้งในด้านสังคมการทำงาน หรือด้านการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพูดและเขียนข้อความที่ซับซ้อนได้อย่างชัดเจนและถูกต้องตามโครงสร้าง ไวยากรณ์ พร้อมทั้งสามารถใช้คำเชื่อมประโยคได้อย่างถูกต้อง | |
C2 | ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาได้อย่างดีเยี่ยมใกล้เคียงเจ้าของภาษา สามารถใช้ภาษา |
มาตรฐานได้อย่างสละสลวย ถูกต้องตามจุดประสงค์ที่จะสื่อสารได้ดี สามารถอ่านบทความที่เป็น | |
ภาษาต้นฉบับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวรรณกรรม) ได้เข้าใจ สามารถและเลือกใช้ภาษาสำหรับ | |
พูดและเขียนได้อย่างเหมาะสม |
CEFR เป็นกรอบความคิดหลักในการเป้าหมายการจัดการเรียนรู้/การพัฒนา โดยใช้ระดับความสามารถ 6 ระดับของ CEFR เป็นเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละระดับ ทั้งนี้ในเบื้องต้นกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาระดับความ สามารถทางภาษาของผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้
ระดับนักเรียน | ระดับความสามารถทางภาษา | ระดับความสามารถทางภาษาตามกรอบ CEFR |
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา (ป.6) | ผู้ใช้ภาษาขั้นเริ่มต้น | A1 |
ผู้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับ (ม.3) | ผู้ใช้ภาษาขั้นเริ่มต้น | A2 |
ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.6/ปวช.) | ผู้ใช้ภาษาขั้นต้น | B1 |
ดังนั้น ในการประเมินหรือตรวจสอบผลการจัดการศึกษาหรือผลการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละระดับข้างต้น หน่วยงานที่รับผิดชอบควรได้มีการทดสอบหรือวัดผล โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานที่เทียบเคียงผลคะแนนกับระดับความสามารถทางภาษาตามกรอบอ้างอิง CEFR เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาผ่านเกณฑ์ระดับความสามารถที่กำหนดหรือไม่