English Grammar คือ ไวยากรณ์อังกฤษ หรือ แกรมม่า ภาษาอังกฤษ ถือว่าเป็นพื้นฐานภาษาอังกฤษ ที่จำเป็นสำหรับนักเรียน เพราะถ้าไม่เข้าใจแล้ว การจะอ่านตำราภาษาอังกฤษก็จะลำบาก เพราะอ่านแล้วจะงงกับโครงสร้างของประโยค ซึ่งเป็นเรื่องของหลักไวยากรณ์ล้วนๆ
แต่ว่าไวยากรณ์ ภาษาอังกฤษ เนี่ยเป็นอะไรที่นักเรียนไม่ชอบเอาเสียเลย สาเหตุเพราะหลายคนคิดว่าย๊ากยาก มันก็เลยยากอย่างที่เราคิดนั่นแหละ แต่ความรู้ภาษาอังกฤษ ในเรื่องของไวยากรณ์ ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนถึงขนาดนั้นหรอก ถ้าเรามีเวลาศึกษาอย่างจริงจัง ถ้ายากขนาดนั้นคงไม่มีใครเรียนรู้เรื่องเป็นแน่แท้ หากเรามีความคิดเช่นนี้ สมองก็จะสั่งการว่าคนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้ ฮ่า ๆ และเราก็ทำได้จริง ๆ ด้วย
จึงขอแนะเบื้องต้นตรงนี้ว่าการเรียนไวยากรณ์คือการเรียนความแตกต่างของหลักภาษานั้นเอง ถ้าเราทำความเข้าใจสักนึดหนึ่งรับรองว่าไม่ยากเกินที่เราจะศึกษาหรอกครับ
ข้อแนะนำการเรียนแกรมม่า
- ไม่สำคัญ = เรียนพอให้รู้่ ผ่านแล้วผ่านเลย
- สำคัญ = เรียนให้รู้และให้เข้าใจ ตอบคำถามไดุ้ถ้ามีคนถาม
- สำคัญมาก = เรียนให้รู้ และให้เข้าใจ จดจำกฎเกณฑ์ให้ได้ อธิบายได้ เพราะเป็นหัวใจของหลักภาษา โดยอาศัยการอ่านบ่อยๆ ทบทวนบ่อยๆ แล้วก็จะจำได้เอง คอนเฟิร์ม
หลักไวยากรณ์ grammar พื้นฐาน (Basic English Grammar)
⇒ Parts of speech (ไม่สำคัญ)
⇒ คำนามทั่วไป และคำนามเฉพาะ (ไม่สำคัญ)
⇒ เอกพจน์ และพหูพจน์คือะไร (สำคัญ)
⇒ นามนับได้ นับไม่ได้ดูตรงไหน (สำคัญ)
⇒ หลักการคร่าวๆของนามนับได้และนามนับไม่ได้ (สำคัญ)
⇒ หลักการใช้ a an (สำคัญมาก)
⇒ หลักการใช้ The (สำคัญมาก)
⇒ นามที่ไม่ต้องใช้ a an the (สำคัญมาก)
⇒ หลักการเปลี่ยนนามเอกพจน์ เป็นพหูพจน์ (สำคัญมาก)
- เติม s ท้ายคำนาม
- นามลงท้ายด้วย s, sh, ch, x, z เติม es
- นามลงท้ายด้วย y
- นามลงท้ายด้วย o
- นามที่ลงท้ายด้วย f, fe
- นามที่เปลี่ยนรูปภายใน
- นามที่คงรูปเดิม ไม่ว่าจะเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์
- นามที่มีรูปพหูพจน์เท่านั้น
- นามเอกพจน์แต่มี s ต่อท้าย
- นามพหูพจน์แต่ไม่มี s ต่อท้าย
- ข้อสอบ Plural Forms 1 (ง่ายๆ)
- ข้อสอบ Plural Forms 2 (ยากนิดหนึ่ง)
⇒ คำนามที่นับไม่ได้ที่ใช้บ่อย (สำคัญ)
⇒ การนับคำนามที่นับไม่ได้ Counting Uncountable Noun (สำคัญ)
⇒ การใช้ few, a few / little, a little (สำคัญ)
⇒ การใช้ There is/ There are (สำคัญ)
⇒ การใช้ a lot of/ lots of (สำคัญ)
⇒ การใช้ This / That – These / Those (สำคัญ)
⇒ การใช้ Some / Any (สำคัญ)
⇒ การใช้ Much / Many (สำคัญ)
⇒ การใช้ How much/ How many (สำคัญ)
⇒ Pronoun สรรพนาม (สำคัญมาก)
⇒ Comparative / Superlative Adjective คุณศัพท์ขั้นธรรมดา กว่า และที่สุด (สำคัญมาก)
⇒ Possessive Adjective คุณศัพท์แสดงความเป็นเจ้าของ (สำคัญมาก)
⇒ Possessive Pronoun สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ (สำคัญมาก)
⇒ Possessive Adjective & Possessive Pronoun ใช้ต่างกันอย่างนี้ (สำคัญมาก)
⇒ Subject Verb agreement ประธานกริยาต้องสอดคล้องกัน 1 (สำคัญมาก)
⇒ Subject Verb agreement ประธานกริยาต้องสอดคล้องกัน 2 (สำคัญมาก)
ยินดีด้วยครับที่ทุกท่านได้เรียนรูแกรมม่าพื้นฐานแล้ว ต้องเรียนรู้ให้เข้าใจนะครับ อย่าหลอกตัวเอง เพราะด่านต่อไปเป็นภารกิจหลักของการเรียนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ นั่นคือ ภารกิจพิชิต Tenses ทั้ง 12
หลักการ 12 Tense
⇒ คลิกเข้าสู่บทเรียนเรื่อง Tenses 12
แกรมม่าภาษาอังกฤษกับคำถามที่ถามบ๊อยบ่อย
- ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษยากไหม
- หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเบื้องต้นมีอะไรบ้าง
- โครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษซับซ้อนแค่ไหนกัน
- และอื่น ๆ……จิปาถะ
คำตอบคือ อย่าถามมากแต่ศึกษาให้มากจะรู้เอง อิ ๆ ล้อเล่นคร้าบ การเรียนไวยากรณ์นั้นเหมือนกับการทำอะไรต่อมิอะไรละครับ เอ้าเป็นงัยเล่า อ้าวก็เริ่มจากระดับง่าย ๆ ก่อนไง เหมือนกับการขึ้นตึกสิบชั้น ต้องเริ่มที่บันไดขั้นแรกแล้วไปทีละก้าวนั่นแหละ (ยกเว้นขึ้นลิฟต์)
มีคำพูดหนึ่งที่ทุกคนควรเอาอย่างคือ “อะไรก็ตามแต่ที่มนุษย์คนหนึ่งทำได้ มนุษย์คนอื่นก็ทำได้ด้วย”
ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษยากไหมคะ
ถ้ามีคนถามให้ตอบว่า ไม่ยากแต่ต้องใช้เวลาในการศึกษาให้เข้าใจ และจดจำให้ได้ การศึกษาให้เข้าใจสามารถทำได้ง่าย เพราะเมื่อเราเรียนรู้ย่อมเกิดความเข้าใจตามมา แต่ปัญหาคือทำอย่างไรให้จดจำได้โดยไม่ลืม ตรงนี้ขอบอกว่าวิธีการง่ายๆคือ อ่าน อ่าน และอ่าน เหมือนพระที่สามารถจดจำบทสวดได้เพราะท่าน ท่อง ท่อง และก็ท่องนั่นเอง
อย่างที่บอกครับ มันไม่มีอะไรยากหรือง่ายจนเกิน ถ้ามันยากทุกคนก็ทำไม่ได้ ถ้ามันง่ายทุกคนก็ทำได้สิครับ มันเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ถ้าลงมือทำ การเดินทางออกนอกโลกเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เขาก็ทำมาแล้ว นับประสาอะไรกับเรื่องแค่นี้ วิธีการคือควรเริ่มเรียนรู้จากอันง่าย ๆ ทำความเข้าใจจากระดับพื้นฐาน หรือระดับเบสิกนั่นแหละ นักเรียนส่วนใหญ่ที่เห็นว่าไวยากรณ์เป็นเรื่องยาก ก็เพราะว่าไปเรียนอันที่มันยาก ๆ มันก็ยากซิครับ เหมือนกับให้เด็กน้อยยกกระสอบข้าวไง เด็กที่ไหนจะยกได้ เมื่อทำไม่ได้ก็ท้อและไม่สนใจในที่สุด สุดท้ายก็เกลียดมันไปเลย
เพราะฉะนั้นอะไรก็ตามแต่ถ้าเราลองทำแล้วคิดว่ามันยากเกินกำลัง ก็ให้หาสิ่งที่เราคิดว่าเราพอเีรียนรู้เรื่อง แล้วก็ทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งก่อน แล้วค่อยทำในสิ่งที่มันยากขึ้นไป วันหนึ่งหากเราไปถึงยอดเขาและมองลงมา เราก็จะมีความภูมิใจว่า เฮ้อมันก็ไม่ได้ยากเท่าไหร่นี่นา
แกรมม่าภาษาอังกฤษเบื้องต้นมีอะไรบ้าง
ถ้านักเรียนเดินเข้าไปในร้านหนังสือ และลองเปิดดูหนังสือแกรมม่าสักเล่มซิ บางเล่มหนาเตอะเลย อันนี้เค้าเขียนละเอียดถึงขนาดที่ว่าเจ้าของภาษาเองก็ไม่ได้เรียนลึกขนาด นี้ เปรียบเทียบกับไวยากรณ์ไทยก็ได้ จะมีสักกี่คนที่จะเรียนเจาะลึกลงไปจริงๆ ไม่ค่อยมีหรอก เพราะฉะนั้นให้เรียนเฉพาะที่จำเป็น ๆ ก่อน แล้วค่อยเจาะลึกลงไปอีกที ถ้าเราจะศึกษาในแขนงนั้น ๆ
หลักไวยากรณ์เบื้องต้นที่นักเรียนควรเรียนรู้ให้เข้าใจนั้นต้องตอบคำถามความแตกต่างของภาษาอังกฤษและภาษาไทยต่อไปนี้ได้
- คำนามเอกพจน์ พหูพจน์คืออะไร
- ประธานเอกพจน์ พหูพจน์ มีผลต่อกริยาในประโยคอย่างไร
- ทำไมกริยาถึงมีสามช่อง เอาไปใช้อย่างไร
- เวลามีความเกี่ยวข้องกับคำโครงสร้างภาษาอย่างไร
ถ้าตอบคำถามง่าย ๆ นี้ได้แสดงว่าพอเข้าใจหลักภาษาแล้วละครับ
โครงสร้างแกรมม่าภาษาอังกฤษซับซ้อนไหม
เฮ้อ….นี่แหละสิ่งที่อยากจะบอกว่าให้ใจเย็น ๆ ให้เรียนให้เข้าใจ และค่อยเป็นไป ซึ่งโครงสร้างในที่นี้คือ โครงสร้างของ Tense นั่นแหละ มันมีโครงสร้าง 12 อันก็จริง แต่ว่าที่ใช้บ่อย ก็มีแค่ 5-6 อันเองแหละ ที่เหลือเรียนให้รู้ก็พอ เพราะไม่ค่อยได้ใช้กันเลย
เรื่อง Tense เป็นจุดที่สำคัญที่สุดของหลักภาษาอังกฤษ และเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง เพราะคำกริยาสามช่องจะเกี่ยวเนื่องกับเวลาโดยตรง คล้ายๆกับภาษาบาลี หากใครเคยเรียนบาลีก็จะรู้
การทำความเข้าใจเรื่อง Tense ต้องใช้เวลานิดหนึ่ง ใช้จินตนาการหน่อย และยอมรับความแตกต่างระหว่างภาษาให้ได้ แค่นี้เองครับ เพราะภาษาไทย จะมีแค่คำบอกเวลามาเกี่ยวข้องแค่นั้นเอง แต่ของภาษาอังกฤษจะเป็นเรื่องของคำกริยาที่จะบ่งบอกเวลาให้รู้ว่าเหตูการณ์นั้นเกิดเมื่อไหร่