inversion คืออะไร ถ้าจะอธิบายกันง่ายๆในทางหลักภาษาก็คือ การสลับตำแหน่งกันระหว่างประธานของประโยค กับคำกริยาของประโยคนั่นเองครับ
inversion คืออะไร
inversion มาจากคำกริยา invert แปลว่า กลับหัวกลับหาง กลับบนเป็นล่าง
inversion ในทางหลักภาษาก็คือการสลับตำแหน่งของคำในประโยค คำที่นำมาสลับกันก็คือ ประธาน กับกริยาในประโยคนั่นเอง
inversion ที่ทุกคนคุ้นกันดีมากๆเลยก็คือ การเปลี่ยนประโยคบอกเล่า เป็นประโยคคำถามใน verb to be นั่นไง
- She is a doctor.
หล่อนเป็นหมอ (ประโยคบอกเล่า) - Is she a doctor?
หล่อนเป็นหมอใช่ไหม
เห็นไหมเอ่ย ตัวอย่างด้านบนนี้ก็คือ inversion เหมือนกัน เอาล่ะ เรามาดู inversion ในรูปแบบต่างๆกันนะครับ
ทำประโยคบอกเล่าเป็นคำถาม
ประโยคคำถามที่สลับตำแหน่งกันระหว่างประธานกับกริยา ที่เราคุ้นมากที่สุดก็คือ verb to be กับกริยาช่วยต่างๆ
- He is a student.
เขาเป็นนักเรียน - Is he a student?
เขาเป็นนักเรียนใช่ไหม
- You are from China.
คุณมาจากจีน - Are you from China?
คุณมาจากจีนไช่ไหม
- A dog can swim.
หมาว่ายน้ำเป็น - Can a dog swim?
หมาว่ายน้ำเป็นใช่ไหม
- It will rain tomorrow.
ฝนจะตกพรุ่งนี้ - Will it rain tomorrow?
ฝนจะตกพรุ่งนี้ใช่ไหม
> การใช้ is am are
> กริยาช่วยทั้ง 24 ตัว
ใช้เพื่อเน้นความในประโยค
การเน้นประโยคในภาษาไทยเราก็มีเช่นกันนะครับ แต่เราไม่สลับตำแหน่งเหมือนภาษาอังกฤษ เช่น
“ไม่เคยเลย ที่เขาจะช่วยฉันทำความสะอาดบ้าน”
อันนี้คือการกลับประโยคในแบบไทยๆนะครับ ซึ่งประโยคเดิมๆคือ “เขาไม่เคยช่วยฉันทำความสะอาดบ้านเลย” เป็นต้น
เรามาดู inversion ที่ใช้เน้นประโยคในรูปแบบต่างๆกันดีกว่านะครับ จะได้เห็นภาพ และเข้าใจมากยิ่งขึ้น
กฎของ inversion ในบางประโยคให้ใช้ สูตร verb ช่วยไม่มี verb be ไม่อยู่ เอา verb do มาใช้นะครับ
กริยาวิเศษณ์บางคำ
กริยาวิเศษณ์ในกลุ่มนี้ เช่น
- hardly แทบจะไม่
- never ไม่เคย
- Seldom น้อยครั้ง
- Rarely แทบจะไม่
- Not only … but..also ไม่เพียงแต่..แต่อีกด้วย
- No sooner ..than… ยังไมทันที่..ก็..
- Nowhere ไม่มีที่ใด
- Little น้อย
- In no way ไม่เลย
ตัวอย่างประโยค
- It hardly rains in the morning.
ฝนแทบจะไม่ตกในตอนเช้าเลย - Harldy does it rain in the moring.
แทบจะไม่เลย ที่ฝนจะตกในตอนเช้า
- I have never seen something like this.
ฉันไม่เคยเห็นอะไรเช่นนี้มาก่อนเลย - Never have I seen somthing like this.
ไม่เคยเลย ที่ฉันจะเห็นอะไรเช่นนี้
- You can escape nowhere!
คุณไม่สามารถหลบหนีไปที่ไหนได้หรอก - Nowhere can you escape!
ไม่มีที่ใด ที่คุณจะสามารถหลบหนีไปได้
คำบุรพบท และคำกริยาวิเศษณ์บอกตำแหน่ง
คำบุพบทและคำกริยาวิเศษณ์ในกลุ่มนี้ เช่น
- on บน
- in ใน
- at ที
- near ใกล้
- between ระหว่าง
- behind ด้านหลัง
- in front of ด้านหน้า
- here ที่นี่่ ตรงนี้
- there ที่นั้น ตรงนั้น
ตัวอย่างประโยค
- Two big dogs lie on the flloor.
สุนัขใหญ่สองตัวนอนบนพื้น - On the floor lie two big dogs.
บนพี้น มีสุนัขใหญ่สองตัวนอนอยู่
- The tall man stood near the window.
ชายร่างสูงใหญ่ยืนอยู่ใกล้หน้าต่าง - Near the window stood the tall man.
ใกล้ๆหน้าต่าง มีชายร่างสูงใหญ่ยืนอยู่
ประโยคคล้อยตามประโยคด้านหน้า
คำที่อยู่ในกลุ่นี้ได้แก่
- so เช่นกัน
- neither ไม่เช่นกัน
- nor ไม่เช่นกัน
ตัวอย่างประโยค
- A: She is tall.
B: So am I.
หล่อนตัวสูง ฉันก็เช่นกัน
- A: He loves dogs.
B: So do I.
เขารักหมา ฉันก็เช่นกัน
- A: He can’t swim.
B: Neither can I.
เขาว่ายน้ำไม่เป็น ฉันก็ไม่เช่นกัน
- A: He will not go.
B: Nor will I.
เขาจะไม่ไป ฉันก็จะไม่เช่นกัน
ใช้ในประโยค if-clause
ในประโยค If clause เราจะใช้ should กับ if-clause แบบที่ 1 ใช้ were กับแบบที่ 2 และ had กับแบบที่ 3
แบบที่ 1
- If she goes now, I will go with her.
- Should she go now, I will go with her.
ถ้าหล่อนไปเดี๋ยวนี้ ฉันจะไปกับหล่อน
แบบที่ 2
- If I won the lottery, I would buy you a big bike.
- Were I to win the lottery, I would buy you a big bike.
ถ้าฉันถูกล็อตเตอรี่ ฉันจะซื้อบิกไบค์ให้นาย
- If I were rich, I would travel around the world.
- Were I rich, I would travel around the world.
ถ้าฉันรวย ฉันจะท่องเที่ยวรอบโลก
แบบที่ 3
- If I had studied hard, I would have passed an exam.
- Had I studied hard, I would have passed an exam.
ถ้าฉันเรียนหนัก ฉันคงสอบผ่านไปแล้ว