linking verb คืออะไร มีอะไรบ้าง ต่างจาก Verb to be อย่างไร ดูตัวอย่างประโยคกันนะ

linlinking verb คืออะไรกันหนอ มีอะไรบ้างที่ควรเรียนรู้และจดจำ แล้วมันใช้ต่างกันหรือเหมือนกันกับ Verb to be คำถามเหล่านี้มีมาจากน้องๆที่ยังไม่เข้าใจหลักการใช้ linking verb นึกว่ามันสามารถใช้แทน Verb to be ได้เลย แต่จริงๆแล้วมันเป็นอย่างไร มาดูกัน

การใช้ linking verbs

linking verbs คืออะไร

  • Linking แปลว่า เชื่อม
  • Verb แปลว่า กริยา

Linking Verb คือ กริยาเชื่อม ทำหน้าที่เชื่อมประธานกับคุณศัพท์ เพื่อบอกสภาวะ ไม่ใช่บอกการกระทำ

 linking verb มีอะไรบ้าง

Linking verb พื้นฐานเบื้องต้นที่ทุกคนควรจดจำไว้ให้แม่น ได้แก่

  • be (is am are/ wase were/ been) เป็น คือ
  • appear ดูเหมือน / ปรากฎ
  • become เริ่ม, กลาย
  • come เป็น, กลายเป็น/ มา
  • feel รู้สึก/ คลำ
  • get เริ่ม / ได้รับ
  • go เกิด/ ไป
  • grow เริ่ม / โต, ปลูก
  • look ดูเหมือน / มอง
  • remain ยังคง/ อยู่
  • seem ดูเหมือน
  • smell ส่งกลิ่น / ดม
  • sound ดูเหมือน / ส่งเสียง
  • stay ยังคง / พัก
  • taste มีรส/ ชิม
  • turn กลาย / หมุน

คำแปลตัวหน้า หมายถึง ถ้าทำหน้าที่เป็น Linking verb

คำแปลตัวหลัง หมายถึง ถ้าทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก หรือกริยาแท้

หลักการใช้ linking verb

Linking verb ก็คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่เชื่อมประธานของประโยค กับ คำคุณศัพท์ เพื่อบ่งบอกสภาวะของประธานในประโยคนั้นๆ ซึ่งคำที่เรารู้จักกันดีก็คือ Verb to be

  • She is happy. หล่อนมีความสุข
  • You are smart. คุณฉลาด
  • He is lazy. เขาขี้เกียจ

Linking Verb หรือกริยาแท้กันแน่…

Linking Verb ตามตัวอย่างด้านบนตั้งแต่ be จนถึง turn นั้น ส่วนใหญ่ทำหน้าที่ได้ทั้ง กริยาแท้ และกริยาเชื่อม

มีอยู่สาม 3 คำ คือ be , become, seem ที่เป็นได้เฉพาะกริยาเชื่อม เพราะบอกได้แค่สภาวะ แต่ไม่สามารถบอกการกระทำได้

ให้จำหลักการง่ายๆว่า ถ้าทำหน้าที่เป็นกริยาแท้จะแสดงการกระทำ ถ้าทำหน้าที่เป็นกริยาเชื่อมจะแสดงสภาวะ

ตัวอย่างคำกริยาที่เป็นได้ทั้งกริยาแท้ และกริยาเชื่อม เช่น

  • I come home every Sunday.  ฉันมาบ้านทุกวันอาทิตย์
    เป็นกริยาแท้ เพราะ come บอกการกระทำ
  • My dreams come true. ฝันของฉันกลายเป็นจริง
    เป็นกริยาเชื่อม เพราะ come บอกสภาวะ
  • I’m feeling the pillow. ฉันกำลังคลำหมอน
    เป็นกริยาแท้ เพราะ feel บอกการกระทำ
  • I’m feeling cold. ฉันรู้สึกหนาว
    เป็นกริยาเชื่อม เพราะ feel บอกสภาวะ
  • We grow flowers. พวกเราปลูกต้นไม้
    เป็นกริยาแท้ เพราะ grow บอกการกระทำ
  • The flowers grow old. ดอกไม้เริ่มแก่
    เป็นกริยาเชื่อม เพราะ grow บอกสภาวะ
  • They smell flowers. พวกเขาดมดอกไม้
    เป็นกริยาแท้ เพราะ smell บอกการกระทำ
  • The flowers smell good. ดอกไม้ส่งกลิ่นหอม
    เป็นกริยาเชื่อม เพราะ smell บอกสภาวะ

Linking Verb กับ Verb to be

ความแตกต่างของ Linking verb กับ Verb to be ก็คือว่า

  • Linking verb = ชั่วคราว
  • Verb to be = ถาวร

ถ้าเราใช้ Verb to be เมื่อไหร่ จะเป็นการบอกนิสัยถาวรของคนๆนั้น แต่ถ้าใช้ linking verb จะบอกว่าพฤติกรรมนั้นๆเกิดชั่วคราว เช่น

  • She is happy. หล่อนมีความสุข
    นี่คือตัวตนของเธอ เธอมีความสุขทุกเวลา
  • She looks happy today. หล่อนดูเหมือนจะมีความสุขวันนี้
    เดือนก่อน สัปดาห์ก่อนหน้ามุ่ย สังสัยได้รับข่าวดีอะไรสักอย่าง
  • You are smart. คุณฉลาด
    คูณเก่งอยู่แล้วแต่เกิด ที่หนึ่งตลอด ทำอะไรก็คล่องไปหมด
  • You seem smart. คุณดูฉลาด
    คุณดูฉลาดขึ้นนะ ประชุมทุกทีมีแต่เสนอแนะอะไรไม่เป็นท่า วันนี้หนาทำไมเป็นคนละคน กินยาผิดซองหรือเปล่า
  • He is lazy. เขาขี้เกียจ
    ไม่เคยทำอะไรเลย งานหนักไม่เอา เบาไม่สู้
  • He sounds lazy. เขาดูเหมือนจะขี้เกียจ
    ปกติขยันขันแข็ง แต่ทำไมตอนนี้เหมือนจะเริ่มอู้งานแล้ว เกิดอะไรขึ้น

อันนี้เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นความแตกต่างกันนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกล่าวถึงพฤติกรรมหรือนิสัย ถ้าใช้ verb to be นั่นคือนิสัยของคนนั้นๆ

แต่มีบางบริบท บางคำที่ใช้แทนกันได้เลย เช่น

  • The soup is good.
  • The soup tastes good.
    ซุปรสชาติดี
  • She is cold.
  • She feels cold.
    หล่อนหนาว ใช้แทนกันได้ ถ้าบอกความรู้สึก แต่
  • She is cold. She never talks to anyone.
    หล่อนเย็นชา หล่อนไม่เคยพูดกับใครเลย

การใช้ Linking verb คร่าวๆ ก็ประมาณนี้แหละครับ มันก็คือกริยาเชื่อม ทำหน้าที่คล้ายกับ Verb to be นั่นเอง

ขอ 5 ดาวให้บทเรียนด้วยครับผม...

คลิกดาวดวงที่ขวามือสุดเลยครับครับ...

Average rating 4.7 / 5. Vote count: 911

ยังไม่มีใครให้ดาว คุณคือคนแรก....

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *