Noun Clause คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม ซึ่งในภาษาไทยเราเขาเรียกกันว่า “นามานุประโยค” นั่นเอง จะว่าไปมันก็คือคำนามธรรมดา ๆ นี่แหละ แต่จะมาแบบยาวๆหน่อย
Noun Clause คืออะไร
- Noun อ่านว่า เนาน์ แปลว่าคำนาม (คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่)
- Clause อ่านว่า คลอส แปลว่า อนุประโยค
- Noun Clause แปลว่า นามานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม
ปกติเราจะรูจักคำนาม (noun) กันดีใช่ไหมครับ คำที่ใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ นั่นแหละครับ
คำนามในรูปแบบเป็นคำๆ (word)
คำนามในรูปแบบเป็นคำๆ มันก็จะป็นคำโดดๆ เช่น dog, cat, pig, water, milk, school, boy, teacher เป็นต้น
คำนามจะทำหน้าที่เป็น
- ประธาน (subject)
- กรรมของกริยา (object of verb)
- กรรมของบุพบท (object of preposition)
- ส่วนเติมเต็ม (complement)
ยกตัวอย่าง เช่น
- Water is clear. น้ำใส (water เป็น ประธาน)
- I drink water. ฉันดื่มน้ำ (water เป็นกรรมของกริยา)
- I’m looking for water. (water เป็นกรรมของบุพบท)
- It is water. มันคือน้ำ (water เป็นส่วนเติมเต็ม)
⇒ กรรมของกริยา และกรรมของบุพบท
⇒ อ่านเพิ่มเติม ประธาน กริยา กรรม
คำนามในรูปแบบเป็นวลี (phrase)
วลี คือ กลุ่มของคำนั่นเอง ซึ่งจะมีคำมาขยายหน้าคำนาม ปกติจะเป็นคำคุณศัพท์ เช่น
- Clean water is clear. น้ำสะอาดใส
(clean water เป็น ประธาน) - I drink clean water. ฉันดื่มน้ำสะอาด
(clean water เป็นกรรม)
- The big black bird is flying. นกสีดำตัวใหญ่กำลังบิน
(The big black bird เป็นประธานของประโยค) - I can see the big black bird. ฉันเห็นนกสีดำตัวใหญ่
(The big black bird เป็นกรรมของประโยค)
คำนามในรูปอนุประโยค (Noun Clause)
noun clause มักจะนำหน้าด้วยคำเหล่านี้ ได้แก่ who, what, where, when, why, how, which, whom, whose, whoever, whatever, wherever, whichever, that, if, whether
noun clause หรือภาษาไทยเรียกว่า นามานุประโยค ก็คือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยประธานและกริยา ที่ทำหน้าที่คล้ายคำนามดังตัวอย่างด้านบน
Noun Clause เป็น ประธานของประโยค
ประธานของประโยคจะอยู่หน้าคำกริยา
- What you do is great.
สิ่งที่คุณทำยอดเยี่ยมมาก
- Where she lives is quite far from here.
สถานที่ที่หล่อนอาศัยอยู่ค่อนข้างไกลจากที่นี่
- How he cook is amazing.
วิธีที่เขาทำอาหารน่าทึ่งมาก
- How long will it take is still unknown.
จะใช้เวลานานแค่ไหน ยังไม่เป็นที่รู้กัน
- Whoever ate my cake will be punished.
ใครก็ตามที่กินเค้กของฉันจะถูกลงโทษ
- That Sam won the lottery is true.
ที่ว่ากันว่าแซมถูกล็อตเตอรี่นั้นคือความจริง
- Whether you will join us does not matter.
คุณจะมาร่วมกับเราหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ
Noun Clause เป็น กรรมของกริยา
กรรมของกริยา จะตามหลังกริยา
- I think that you may be right.
ฉันคิดว่าคุณอาจพูดถูก
- I want to know what love is.
ฉันอยากรู้ว่ารักคืออะไร
- I know where she lives.
ฉันรู้สถานที่ที่หล่อนอาศัยอยู่
ฉันรู้ว่าหล่อนอยู่ที่ไหน
- I will punish whoever ate my cake.
ฉันจะลงโทษใครก็ตามที่กินเค้กของฉัน
- I don’t care who won the lottery.
ฉันไม่สนว่าใครถูกล็อตเตอรี่
- I will give whoever can help me one million baht.*
ฉันจะให้ 1 ล้านบาทแก่ใครก็ตามที่สามารถช่วยฉันได้
- You can send these flowers to whomever you like.*
คุณสามารถส่งดอกไม้เหล่านี้ให้แก่ใครก็ตามที่คุณชอบ
* Noun clause เป็นกรรมรอง
Noun Clause เป็น กรรมของบุรพบท
⇒ กรรมของบุพบท object of preposition
กรรมของบุพบท จะตามหลังบุพบท
- I’m looking for where I can buy a ticket.
ฉันกำลังมองหาสถานที่ที่ ฉันสามารถซื้อตั๋วได้
- I’m afraid of what will happen tomorrow.
ฉันกลัวว่าพรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้น
- I want to play with whoever can’t play golf.
ฉันอยากจะเล่นกับใครก็ได้ที่เล่นกอล์ฟไม่เป็น
- Sam is waiting for what he want.
แซมกำลังรอคอยสิ่งที่เขาต้องการ
- I’m thingking about who can help us.
ฉันกำลังคิดอยู่ว่าใครสามารถช่วยเราได้
- Jenny is curious about what we are doing?
เจนนี่สงสัยใคร่รู้สิ่งที่พวกเรากำลังทำอยู่
- Lucy is proud of what his son did yesterday.
ลูซี่ภูมิใจในสิ่งที่ลูกชายของเธอทำเมื่อวาน
Noun Clause เป็น ส่วนเติมเต็มของประโยค
ส่วนเติมเต็มจะตามหลัง verb to be หรือ linking verb
- The fact is that he didn’t win the lottery.
ข้อเท็จจริงก็คือว่าเขาไม่ได้ถูกล็อตเตอรี่
- My hope is that everyone will be safe.
ความหวังของผมก็คือว่าทุกคนจะปลอดภัย
- It seems that he was late again.
ดูเหมือนว่าเขาจะมาสายอีกแล้ว
- This is how I bake a cake.
นี่คือวิธีที่ฉันอบเค้ก