หลักการใช้ Verb (คำกริยา) – Verb คืออะไร / Verb มีอะไรบ้าง อธิบายละเอียด!

Verb คืออะไร  Verb มีอะไรบ้าง และหลักการใช้ Verb มีอะไรบ้าง: สรุปคร่าวๆ Verb แปลว่า คำกริยา แบ่งแยกออกเป็นหลายชนิดหลายประเภท แล้วแต่ตำราว่าจะแบ่งโดยใช้หลักเกณฑ์ใด ส่วนหลักการใช้นั้น ประเด็นที่สำคัญจะอยู่ที่ Tense ทั้ง 12 ครับ

verb คืออะไร

หัวข้อในการเรียนรู้ Verb (คำกริยา)

  • Verb  คืออะไร
  • Verb มีอะไรบ้าง
  • หลักการใช้ Verb ใช้ยังไง
  • ตัวอย่าง Verb ที่ใช้บ่อย

♦ Verb คืออะไร

Verb is a word or phrase that describes an action, condition, or experience

Verb อ่านว่า เวิบ คือ คำหรือกลุ่มคำที่บรรยาย การกระทำ สถานะ หรือประสบการณ์

กล่าวคือ เป็นคำที่บอกให้รู้ว่าประธานของประโยค ทำอะไร หรือมีสถานะเป็นอย่างไรนั่นเอง เช่น

A man eats a mango.  ผู้ชาย กิน มะม่วง – คำว่า eat บอกการกระทำ

The sun is hot. พระอาทิตย์ (คือ) ร้อน – คำว่า is บอกสถานะของพระอาทิตย์ว่าเป็นอย่างไร แต่คำว่า is am are บางทีจะไม่แปลกัน

I feel cold. ฉัน รู้สึก หนาว – คำว่า feel บอกประสบการณ์ของตัวฉันให้รู้ว่าฉันรู้สึกอย่างไร

♦ Verb มีอะไรบ้าง มีกี่ประเภท

การแบ่งประเภทของ Verb ขึ้นอยู่กับว่า จะแบ่งกันอย่างไรนะครับ ไม่กำหนดหลักเกณฑ์ตายตัวแน่นอน

1. สกรรมกริยา (Transitive Verb) และ อกรรมกริยา (Intransitive Verb)

– สกรรมกริยา (Transitive Verb) คือกริยาที่ต้องมากรรมมารับ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสื่อความหมายได้สมบูรณ์ คำกริยาชนิดนี้ ได้แก่ love, like, eat, hit, clean, buy, cut, do, have, make, meet เป็นต้น ถ้าไม่มีกรรมมารับจะไม่สามารถสื่อความกันได้เป็นที่เข้าใจกัน เช่น

I love. ผมรัก…. อ้าวแล้วรักอะไรล่ะ ..ดังนั้นจึงต้องมีกรรมมารองรับ

We eat. พวกเรากิน…. อ้าวแล้วกินอะไรล่ะ ..ดังนั้นจึงต้องมีกรรมมารองรับ

ตัวอย่างเช่น

  • I love you.
ผมรักคุณ (คุณเป็นกรรมของประโยค)

  • You like a cat.
คุณชอบแมว (แมวเป็นกรรมของประโยค)

  • We eat rice.
พวกเรากินข้าว (ข้าวเป็นกรรมของประโยค)

• They buy a car.
พวกเขาซื้อรถยนต์ (รถยนต์เป็นกรรมของประโยค)

– อกรรมกริยา (Transitive Verb) คือกริยาที่ไม่ต้องมากรรมมารับ ก็สามารถสื่อความหมายได้สมบูรณ์ คำกริยาชนิดนี้ ได้แก่ sit, stand, swim, walk, sleep, fly, run, sing, dance เป็นต้น

• I sit.
ผมนั่ง

  • You stand.
คุณยืน

  • We walk.
พวกเราเดิน

• They sleep.
พวกเขานอนหลับ

จะเห็นได้ว่าแค่มีประธาน กับกริยา ก็สามารถสื่อความได้แล้วว่า ใครทำอะไร

2. กริยาแท้ (Main Verb) และ กริยาช่วย (Helping Verb)

– กริยาแท้ (Main Verb) หรือกริยาหลักของประโยค ถ้าในประโยคนั้นๆมีคำกริยาตัวเดียว จะไม่ใช่ปัญหาใดๆ เพราะคำกริยาที่ปรากฎ มันก็คือกริยาหลักของประโยคนั้นเอง เช่น

•  I walk to school.
ฉันเดินไปโรงเรียน  ( walk เป็นกริยาแท้)

  • You are a doctor. 
คุณเป็นหมอ  (are เป็นกริยาแท้)

• They sing beautifully.
พวกเขาร้องเพลงอย่างไพเราะ (sing เป็นกริยาแท้)

• They eat rice.  
พวกเขากินข้าว (eat เป็นกริยาแท้)

กริยาช่วย (Helping Verb) บ้างก็เรียกว่า auxiliary verb หมายถึง คำกริยาที่เป็นตัวเสริมเข้าไปร่วมกับกริยาแท้ ให้ถูกต้องตามโครงสร้างของประโยค โดยที่ไม่มีความหมายใดๆ

เรียนรู้เพิ่มเติม ⇒  กริยาช่วย 24 ตัว ⇐

•  I am walking to school.
ฉันกำลังเดินไปโรงเรียน  ( am เป็นกริยาช่วย ส่วน walk เติม ing เป็นกริยาแท้)

•  You are a doctor.
คุณเป็นหมอ  (are เป็นกริยาแท้)

• They are singing beautifully.
พวกเขากำลังร้องเพลงอย่างไพเราะ (are เป็นกริยาช่วย ส่วน sing เติม ing เป็นกริยาแท้)

• They have eaten rice.
พวกเขากินข้าวแล้ว (have เป็นกริยาช่วย ส่วน eaten เป็นกริยาแท้)

ปล. คำว่า is am are และ have has ถ้าปรากฎลำพังในประโยคจะเป็นกริยาแท้ แต่ถ้าไปเสริมเข้ากับกริยาตัวอื่นจะเป็นกริยาช่วย เช่น

I am a doctor.  ผมเป็นหมอ (am เป็นกริยาแท้)

I am singing. ผมกำลังร้องเพลง (am เป็นกริยาช่วย)

I have a dog. ผมมีหมาหนึ่งตัว (have เป็นกริยาแท้)

I have eaten rice. ผมกินข้าวแล้ว (have เป็นกริยาช่วย)

2. กริยาปกติ (Regular Verb) และ กริยาอปกติ (Irregular Verb)

เรียนรู้ตารางคำกริยาที่ใช้บ่อย ⇒  กริยา 3 ช่อง ⇐

กริยาปกติ (Regular Verb) คือ คำกริยาที่เติม ed ต่อท้าย ในช่อง 2 และ 3 ซึ่งเป็นการง่ายสำหรับผู้เรียน ถ้าจะผันกริยา เพราะแค่เติม ed ต่อท้ายแค่นั้นเอง เช่น

1 answer answered answered ตอบ (คำถาม) รับ (โทรศัพท)
2 arrive arrived arrived มาถึง ไปถึง
3 attend อะเท็นด attended อะเท็นเด็ด attended (เข้าร่วม) ประชุม
4 beg เบก begged เบกด begged ขอ
5 call  คอล called คอลด called เรียก โทรหา
6 change เชนจึ changed เชนจดึ changed เปลี่ยน
7 clean คลีน cleaned คลีนด cleaned  ทำความสะอาด

กริยาอปกติ (Regular Verb) จะเรียกมันว่า กริยาผิดปกติก็ได้นะ เพราะกริยากลุ่มนี้ จะแปลงร่างตัวเอง ในช่อง 2 และ 3 ซึ่ง ทำให้ผู้เรียนต้องจดจำให้ได้ว่า มันแปลงร่างไปยังไง และบางคำก็คงรูปเดิมไว้ซะอย่างนั้น เช่น

1

be = is, am, are was, were been เป็น อยู่ คือ

2

become (บิคั๊ม) became  (บิเค๊ม) become กลายเป็น

3

begin (บิกิ๊น) began  (บิแก๊น) begun (บิกั๊น) เริ่มต้น

4

cut คัท cut cut ตัด

5

do ดู did ดิด done ดัน ทำ

6

go โก went เว็นท gone กอน ไป

♦  หลักการใช้ Verb ใช้ยังไง

หลักการใช้ verb จะว่าไปแล้วมันก็คือ Verb Tense หรือ Tense 12 นั่นแหละครับ คำกริยาคำเดียวเดียวกัน สามารถสื่อความได้ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต

eat.  ฉันกิน

am eating.  ฉันกำลังกิน

have eaten. ฉันกินเสร็จแล้ว

I ate. ฉันกินมาแล้ว

I will eat. ฉันจะกิน

เรียนรู้หลักการใช้  Verb  ⇒ Tense 12 ⇐

♦ ตัวอย่าง Verb ที่ใช้บ่อย

ตัวอย่างของ Verb ที่ใช้บ่อยๆมีอะไรบ้าง คลิกตรงนี้เลยครับ   ⇒ กริยา 3 ช่องที่ใช้บ่อย ⇐

ขอ 5 ดาวให้บทเรียนด้วยครับผม...

คลิกดาวดวงที่ขวามือสุดเลยครับครับ...

Average rating 4.6 / 5. Vote count: 529

ยังไม่มีใครให้ดาว คุณคือคนแรก....

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *