ถ้าเราเรียนหลักภาษาเราจะรู้ว่าประโยคประกอบไปด้วย ประธาน กริยา กรรม แล้วประธาน กริยา และกรรม สังเกตจากตรงไหนล่ะ ว่าอันไหนเป็นประธาน หรืออันไหนเป็นกรรมของประโยค…
ประธาน กริยา กรรม
ความหมายของประธาน กริยา กรรม ขออธิบายสั้นๆ ดังนี้
- ประธาน คือ ผู้กระทำ
- กริยา คือ การการะทำ
- กรรม คือ ผู้ถูกกระทำ
A monkey eats a banana.
ลิง กิน กล้วย
- ลิง เป็น ประธาน เพราะเป็นผู้กระทำ
- กิน เป็น กริยา เพราะ เป็นการกระทำ
- กล้วย เป็นกรรมเพราะเป็นผู้ถูกกระทำ (ถูกกิน)
ยกตัวอย่างข้อเดียวคงเข้าใจนะครับ
แล้วประธานสำคัญอย่างไร
บอกได้เลยว่าสำคัญที่สุดในการเรียนรู้ไวยากรณ์ เพราะมันมีกฎข้อหนึ่งอยู่ว่า ประธานเอกพจน์ กริยาเติม s ประธานพหูพจน์ไม่ต้องเติม s ถ้าเราไม่รู้ว่าประธานคืออะไร ตัวไหนคือประธาน มันเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้แล้วละก็ ม้วนเสื่อกลับบ้านได้เลย เพราะเรียนไปก็จะยิ่งงงกันไปใหญ่
ตัวไหนเป็นประธานในประโยคกันแน่
จากตัวอย่างลิงกินกล้วย รู้ไหมครับว่าอะไรเป็นประธาน ถูกต้องครับ ก็ลิงนั่นแหละ อันนี้ดูง่ายครับ เพราะเป็นประโยคธรรมดาๆ ที่ไม่ซับซ้อนอะไรเลย
ลองมาดูตัวอย่างด้านล่างกันนะครับ
- The man from Thailand is very tall.
ผู้ชาย ที่มาจาก ประเทศไทย ตัวสูง มาก
จากตัวอย่าง ผู้ชายนะครับที่เป็นประธาน ไม่ใช่ประเทศไทย
- Two boys from China are very smart.
เด็กชายสองคน ที่มาจากจีน หล่อมาก
จากตัวอย่าง เด็กผู้ชาย คือประธานของประโยค ไม่ใช่ China
และสังเกตให้ดีว่า สองประโยคด้านบนมีอะไรที่ต่างกัน ถูกต้องครับ กริยา is กับ are ไง ประธานหนึ่งคนกริยามักลงท้ายด้วย s
- The girl in this room drinks coffee everyday.
เด็กหญิง ที่อยู่ห้องนี้ ดื่ม กาแฟ ทุกวัน - The girls in this room drink coffee everyday.
เด็กหญิงทั้งหลาย ที่อยู่ห้องนี้ ดื่ม กาแฟ ทุกวัน
ตัวอย่างด้านบนนี้ ประธานคือ เด็กหญิง ไม่ใช่ ห้อง สังเกตว่าประธานคนเดียวกริยาเติม s หลายคนไม่ต้องนะครับ
นี่คือความสำคัญที่จะต้องแยกแยะให้ออกว่าอันไหนคือประธานของประโยค และประธานดังกล่าวเป็น เอกพจน์หรือพหูพจน์กันแน่
เพราะในหลักภาษาอังกฤษนั้น ประธานที่เป็นเอกพจน์กับพหูพจน์จะใช้กริยาไม่เหมือนกัน ซึ่งจะได้เรียนรู้เรื่องเอกพจน์พหูพจน์ ในบทต่อไป
สอนรู้เรื่องมากเลยค่ะ ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆแบบนี้นะค่ะ ขอให้อัพเดตข้อมูลดีๆแบบนี้อีกค่ะ