ประวัติวันคริสต์มาสภาษาอังกฤษ แปลไทย Christmas History

ประวัติวันคริสต์มาส ความเป็นมาของการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส ฉบับภาษาอังกฤษแปลไทย เวอร์ชั่นนี้แปลเอาเนื้อหาครับ ไม่ได้แปลแบบคำต่อคำ แต่ก็ยังคงโครงสร้างไว้เหมือนเดิมครับ

ประวัติวันคริสต์มาส

ประวัติวันคริสต์มาส The history of Christmas dates back over 4000 years. Many of our Christmas traditions were celebrated centuries before the Christ child was born. The 12 days of Christmas, the bright fires, the yule log, the giving of gifts, carnivals (parades) with floats, carolers who sing while going from house to house, the holiday feasts, and the church processions can all be traced back to the early Mesopotamians. ถ้าพูดถึงประวัติวันคริสต์ต้องย้อนวันเวลากลับไปราว 4000 กว่าปีโน้น ซึ่งมีการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส ก่อนพระเยซูน้อยจะกำเนิดเสียอีก ไม่ว่าจะเป็น 12 วันในการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส แสงไฟที่เจิดจ้า การเผ่าท่อนฟืนยูล การมอบของขวัญ งานเฉลิมฉลอง(การเดินพาเหรด)พร้อมขบวนยวดยาน นักร้องที่ร้องรำจากบ้านนี้ไปบ้านโน้น การเฉลิมฉลองในวันหยุด และพิธีแห่ขบวน ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในยุคของเมโสโปเตเมียมาก่อนแล้ว Many of these traditions began with the Mesopotamian celebration of New Years. The Mesopotamians believed in many gods, and as their chief god – Marduk. Each year as winter arrived it was believed that Marduk would do battle with the monsters of chaos. To assist Marduk in his struggle the Mesopotamians held a festival for the New Year. This was Zagmuk, the New Year’s festival that lasted for 12 days. ประเพณีหลายๆอย่างที่กล่าวมานั้น เกิดมาจากการเฉลิมฉลองปี่ใหม่ของชาวเมโสโปเตเมีย ชาวเมโสโปเตเมียเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์ และเทพที่เป็นใหญ่ของพวกเขาคือเทพมาร์ดุค ทุกๆปีเมื่อฤดูหนาวมาเยือน พวกเขาเชื่อว่าเทพมาร์ดุคจะทำสงครามกับปีศาจแห่งความโกลาหล การที่จะช่วยเหลือให้เทพมาร์ดุคสามารถชนะศึกได้นั้น พวกเขาต้องจัดงานเฉลิมฉลองปีใหม่ ซึ่งเทศกาลดังกล่าว ชื่อว่า แสกมุค (Zagmuk) ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองปีใหม่ที่จัดขึ้นเป็นเวลา 12 วันติดต่อกัน The Mesopotamian king would return to the temple of Marduk and swear his faithfulness to the god. The traditions called for the king to die at the end of the year and to return with Marduk to battle at his side. พระราชาของโมโสโปเตเมียจะต้องไปที่ปราสาทของเทพมาร์ดุค และสาบานความภักดีต่อหน้าเทพเจ้า ประเพณีนี้พระราชาจะต้องสละชีพตอนสิ้นปี เพื่อที่จะกลับมาพร้อมกับเทพมาร์ดุค และต่อสู้เคียงข้างกัน To spare their king, the Mesopotamians used the idea of a “mock” king. A criminal was chosen and dressed in royal clothes. He was given all the respect and privileges of a real king. At the end of the celebration the “mock” king was stripped of the royal clothes and slain, sparing the life of the real king. เพื่อที่จะรักษาชีวิตของพระราชาเอาไว้ ชาวโมโสโปเตเมียนมีแนวคิดในการใช้ พระราชาหลอกๆ (น่าจะเป็นหุ่น) ซึ่งประดับตกแต่งด้วยเครื่องราชเต็มยศ เขาจะได้รับความเคารพ และมีเกียรติเหมือนพระราชาตัวจริงทุกประการ ในตอนท้ายของการเฉลิมฉลอง พระราชาหลอกๆก็จะถูกปลดเครื่องราช และถูกประหารชีวิต ส่วนพระราชาตัวจริงก็จะรอดชีวิตไป The Persians and the Babylonians celebrated a similar festival called the Sacaea. Part of that celebration included the exchanging of places, the slaves would become the masters and the masters were to obey. ชาวเปอร์เซียและชาวบาบิโลน มีเทศกาลเฉลิมฉลองคล้ายๆกัน เรียกว่า ซาเกีย (Sacaea) ส่วนหนึ่งของเทศกาลนี้คือ การสลับตำแหน่งกัน โดยทาสรับใช้จะเป็นนาย และเจ้านายจะเป็นผู้รับใช้ Early Europeans believed in evil spirits, witches, ghosts and trolls. As the Winter Solstice approached, with its long cold nights and short days, many people feared the sun would not return. Special rituals and celebrations were held to welcome back the sun. ชาวยุโรปในยุคแรกๆมีความเชื่อในเรื่อง วิญญาณชั่วราย พ่อมด ภูตผี และปีศาจ ในวันที่มีช่วงกลางวันสั้นกว่ากลางคืน (Winter Solstice) ซึ่งเป็นวันที่มีค่ำคืนอันยาวนานและกลางวันที่สั้นกว่า หลายๆคนกลัวว่าพระอาทิตย์จะไม่กลับมา ดังนั้นจึงได้มีการประกอบพิธีกรรมเพื่อเฉลิมฉลองต้อนรับการกลับมาของพระอาทิตย์ In Scandinavia during the winter months the sun would disappear for many days. After thirty-five days scouts would be sent to the mountain tops to look for the return of the sun. When the first light was seen the scouts would return with the good news. A great festival would be held, called the Yuletide, and a special feast would be served around a fire burning with the Yule log. Great bonfires would also be lit to celebrate the return of the sun. In some areas people would tie apples to branches of trees to remind themselves that spring and summer would return. ในเขตสแกนดิเนเวียนั้น ช่วงฤดูหนาวพระอาทิตย์จะหายไปหลายวัน หลังจาก 15 วันผ่านไป หน่วยสอดแนมจะขึ้นไปยังยอดเขาเพื่อรอคอยการกลับมาของพระอาทิตย์ เมื่อมีแสงตะวันปรากฎขึ้นพวกเขาจะกลับลงมาเพื่อบอกข่าวดี และจะมีการเฉลิมฉลองเทศกาลที่ยิ่งใหญ่เรียกว่า ยูลไทล์ และการเลี้ยงฉลองแบบพิเศษจะถูกจัดขึ้นรอบกองไฟโดยใช้ท่อนฟืนยูล มีการจุดคบกองไฟที่ยิ่งใหญ่เพื่อเฉลิมฉลองการกลับมาของพระอาทิตย์ ในบางพื้นที่ผู้คนจะนำผลแอปเปิ้ลไปผูกตามต้นไม้ เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจว่าฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนจะหวนคืนมาอีกครั้ง The ancient Greeks held a festival similar to that of the Zagmuk/Sacaea festivals to assist their god Kronos who would battle the god Zeus and his Titans. กรีกโบราณเฉลิมฉลองเทศกาลคล้ายกับ เทศกาลแสกมุคและสาเกีย เพื่อเป็นแรงสนับสนุนให้เทพโครโนสผู้ที่ต่อสู้กับเทพซีอุสและลูกสมุน The Roman’s celebrated their god Saturn. Their festival was called Saturnalia which began the middle of December and ended January 1st. With cries of “Jo Saturnalia!” the celebration would include masquerades in the streets, big festive meals, visiting friends, and the exchange of good-luck gifts called Strenae (lucky fruits). ชาวโรมันนั้นทำการเฉลิมฉลองแด่เทพแซทเทิร์น (god Saturn) พวกเขาเรียกเทศกาลนี้ว่า แซทเทิร์นนาเลีย ซึ่งเริ่มต้นช่วงกลางเดือนธันวาคม และสิ้นสุดวันที่ 1 เดือนมกราคม เทศกาลนี้ประกอบไปด้วยการพรางหน้าแล้วเดินไปตามถนนพร้อมตะโกนส่งเสียง ” โจ แซทเทิร์นนาเลีย” การเลี้ยงอาหารมื้อใหญ่ การไปพบปะเพื่อนๆ และการแลกเปลี่ยนของขวัญที่เรียกว่า สเตรแน (Strenae) (ผลไม้นำโชค) The Romans decked their halls with garlands of laurel and green trees lit with candles. Again the masters and slaves would exchange places. ตกแต่งวันคริสต์มาสชาวโรมันประดับประดาห้องโถงด้วยพวงมาลัยบนต้นไม้ที่มีใบสีเขียว ทีประดับด้วยไฟเทียน และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่นายและทาสต้องสับเปลี่ยนตำแหน่งกัน “Jo Saturnalia!” was a fun and festive time for the Romans, but the Christians though it an abomination to honor the pagan god. The early Christians wanted to keep the birthday of their Christ child a solemn and religious holiday, not one of cheer and merriment as was the pagan Saturnalia. “โจ แซทเทิร์นนาเลีย” เป็นการเฉลิมฉลองที่สนุกสนานของชาวโรมัน แต่ชาวคริสเตียนคิดว่าเป็นการเทิดทูนบูชาเทพนอกรีตมากกว่า ชาวคริสเตียนในยุคแรกๆต้องการให้เป็นวันประสูติของพระเยซูน้อยมีความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นวันหยุดทางศาสนา ไม่ใช่เทศกาลแห่งความสนุกสนานอย่าง แซทเทิร์นนาเลีย But as Christianity spread they were alarmed by the continuing celebration of pagan customs and Saturnalia among their converts. At first the Church forbid this kind of celebration. But it was to no avail. Eventually it was decided that the celebration would be tamed and made into a celebration fit for the Christian Son of God. แต่เมื่อคริสต์ศาสนาแพร่กระจายออกไป ก็ได้มีการตักเตือนผู้ที่เข้ามานับถือศาสนาเกี่ยวกับการจัดงานเฉลิมฉลองนอกรีตเช่นนี้ ตอนแรกคริสตจักรก็ได้มีการประกาศห้ามการเฉลิมฉลองเช่นนี้ แต่ก็ไม่เป็นผล ท้ายที่สุดก็ได้มีการตัดสินว่าการเฉลิมฉลองนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองบุตรชายของพระผู้เป็นเจ้า Some legends claim that the Christian “Christmas” celebration was invented to compete against the pagan celebrations of December. The 25th was not only sacred to the Romans but also the Persians whose religion Mithraism was one of Christianity’s main rivals at that time. The Church eventually was successful in taking the merriment, lights, and gifts from the Saturanilia festival and bringing them to the celebration of Christmas. บางตำนานกล่าวว่า พิธีเฉลิมฉลองคริสต์มาสของชาวคริสเตียนก็เพื่อเอาชนะการเฉลิมฉลองนอกรีตที่จัดขึ้นในเดือนธันวาคม วันที่ 25 ธันวาคมไม่ได้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์เฉพาะชาวโรมันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวเปอร์เซียนศาสนาที่นับถือพระอาทิตย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในศาสนาคู่แข่งที่สำคัญของศาสนาคริสต์ แต่ท้ายที่สุดแล้วคริสตจักรก็มาประสบความสำเร็จได้เพราะการรับเอาความสนุกสนาน แสงไฟ และการมอบของขวัญซึ่งเป็นเทศกาลของแซทเทิร์นนาเลียมาใช้เฉลิมฉลองในวันคริสต์มาส The exact day of the Christ child’s birth has never been pinpointed. Traditions say that it has been celebrated since the year 98 AD. In 137 AD the Bishop of Rome ordered the birthday of the Christ Child celebrated as a solemn feast. In 350 AD another Bishop of Rome, Julius I, choose December 25th as the observance of Christmas. วันประสูติที่แท้จริงของพระเยซูน้อยนั้นไม่เคยกล่าวถึง แต่มีการกล่าวว่าการเฉลิมฉลองนั้นมีมาตั้งแต่ ค.ศ. 98 ในปี ค.ศ. 137 สังฆราชของโรมมีบัญชาให้การเฉลิมฉลองวันประสูติของเยซูน้อยเป็นพิธีการที่ศักสิทธิ์ ในปี ค.ศ. 350 สังฆราชอีกองค์ของโรม นามว่าจูเลียส1 ได้เลือกวันที่ 25 เป็นวันเฉลิมฉลองคริสต์มาส In the late 300’s, Christianity became the official religion of the Roman Empire. By 1100, Christmas had become the most important religious festival in Europe, and Saint Nicholas was a symbol of gift giving in many European countries. During the 1400’s and 1500’s, many artists painted scenes of the Nativity, the birth of Jesus. An example of these works appears in the Jesus Christ article in the print version of The World Book Encyclopedia. ในปลายปี ค.ศ. 300 คริสตศาสนาได้กลายเป็นศาสนาอย่างเป็นทางการของอาณาจักรโรม ราวปี ค.ศ. 1100 คริสต์มาสได้กลายเป็นเทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุดในยุโรป และเซนต์นิโคลัสได้เป็นสัญลักษณ์ของการให้ในหลายประเทศในยุโรป ในช่วงปี ค.ศ. 1400 และ 1500 ศิลปินหลายท่านได้วาดภาพฉากการประสูติของพระเยซูคริสต์ ตัวอย่างของชิ้นงานเหล่านี้ปรากฎในบทความเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์สารานุกรมของโลก (World Book Encyclopedia) The popularity of Christmas grew until the Reformation, a religious movement of the 1500’s. This movement gave birth to Protestantism. During the Reformation, many Christians began to consider Christmas a pagan celebration because it included nonreligious customs. During the 1600’s, because of these feelings, Christmas was outlawed in England and in parts of the English colonies in America. The old customs of feasting and decorating, however, soon reappeared and blended with the more Christian aspects of the celebration. ความนิยมในเทศกาลคริสต์มากเพิ่มขึ้นเรื่อยจนกระทั่งมีการปฏิรูปศาสนา เป็นการเคลื่อนไหวทางศาสนาในปี 1500 เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดนิกายโปรเตสแตนท์ขึ้นมา ในช่วงของการปฏิรูปศาสนานั้น ชาวคริสเตียน หลายๆคนเริ่มพิจารณากันว่า เทศกาลคริสต์มาสเป็นการเฉลิมฉลองนอกรีต เพราะว่ามีการรวมเอาสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนารวมอยู่ด้วย ในช่วงปี ค.ศ. 1600 ความรู้สึกเช่นนี้ทำให้เทศกาลคริสมาสต์เป็นสิ่งที่ผิดในประเทศอังกฤษและในประเทศอาณานิคมของอังกฤษในอเมริกา อย่างไรก็ตามประเพณีในแบบดั้งเดิมของการเฉลิมฉลองและการประดับประดาตกแต่ง ก็หวนกลับมาอีกครั้ง ซึ่งเป็นการผสมผสานให้เป็นการเฉลิมฉลองในแง่ของศาสนามากขึ้น อ้างอิง
 http://www.thehistoryofchristmas.com/christmas_history.htm (เนื้อหาภาษาอังกฤษ)

ขอ 5 ดาวให้บทเรียนด้วยครับผม...

คลิกดาวดวงที่ขวามือสุดเลยครับครับ...

Average rating 4.5 / 5. Vote count: 85

ยังไม่มีใครให้ดาว คุณคือคนแรก....

3 thoughts on “ประวัติวันคริสต์มาสภาษาอังกฤษ แปลไทย Christmas History

  1. KruKheng says:

    ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ มีประโยชน์มากที่สุด ได้ใช้สอนเด็กบ่อยมากค่ะ ขอให้ทำต่อไปนะคะ สุขสันต์วันคริสตมาสและสวัสดีปีใหม่ค่ะ ขอพระเจ้าอวยพระพร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *