เกณฑ์การแข่งขันพูดภาษาอังกฤษ งานศิลปหัถกรรมนักเรียน

การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เกณฑ์การแข่งขันจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยทุกปี ที่เอามาให้ดูกันคือประมาณคร่าวๆครับ

เรียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียน

เกณฑ์การแข่งทักษะภาษาอังกฤษ

การแข่งขันพูดภาษาอังกฤษ (Impromptu  Speech)

1 คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน
1.1 นักเรียนระดับชั้น ป.1-3
1.2 นักเรียนระดับชั้น ป.4-6
1.3 นักเรียนระดับชั้น ม.1-3
1.4 นักเรียนระดับชั้น ม.4-6

2 ประเภทและจำนวนผู้เข้าแข่งขัน
2.1 แข่งขันประเภทเดี่ยว
2.2 จำนวนผู้เข้าแข่งขัน
1) ระดับชั้น ป.1-3 จำนวน 1 คน
2) ระดับชั้น ป.4-6 จำนวน 1 คน
3) ระดับชั้น ม.1-3 จำนวน 1 คน
4) ระดับชั้น ม.4-6 จำนวน 1 คน

3 วิธีำดำเนินการและรายละเอียดหลักเกณฑ์การแข่งขัน
3.1 หัวข้อการแข่งขันเป็นไปตามเนื้อหาในหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการของแต่ละระดับชั้นที่เหมาะสมกับการพูดแบบ   Impromptu Speech ดังนี้
3.1.1  นักเรียนระดับชั้น ป.1-3  หัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน อาหาร เครื่องดื่มและเวลาว่างและนันทนาการ ภายในวงคำศัพท์ประมาณ 300 – 450 คำ (คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรม)
3.1.2 นักเรียนระดับชั้น ป.4-6 หัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ ภายในวงคำศัพท์ประมาณ 1,050 – 1,200 คำ (คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม)
3.1. 3 นักเรียนระดับชั้น ม.1-3 ตามหัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การศึกษาและอาชีพ การเดินทางท่องเที่ยว การบริการ สถานที่ ภาษา และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายในวงคำศัพท์ประมาณ 2,100 – 2,250 คำ (คำศัพท์ที่เป็นนามธรรมมากขึ้น)
3.1.4 นักเรียนระดับชั้น ม.4-6  หัวเรื่องเกี่ยวกับตนเอง สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เวลาว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การศึกษาและอาชีพ การเดินทางท่องเที่ยว การบริการ สถานที่ ภาษา และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายในวงคำศัพท์ประมาณ 3,600 – 3,750 คำ (คำศัพท์ที่มีระดับการใช้แตกต่างกัน)
3.2   วิธีการแข่งขัน นักเรียนจะพูดตามหัวข้อโดยวิธีการจับฉลาก ก่อนการพูด ให้เวลาเตรียมตัว 5 นาที คณะกรรมการเตรียมหัวข้อ จานวน 3 หัวข้อ นักเรียนมีสิทธิ์จับฉลาก 2 ครั้ง แล้วเลือกพูดเพียง 1  หัวข้อ
3. 3 เวลาในการแข่งขัน
1) ระดับชั้น ป.1-3   ใช้เวลาในการพูด 2-3 นาที
2) ระดับชั้น ป.4-6 ใช้เวลาในการพูด 3-4 นาที
3) ระดับชั้น ม.1-3 ใช้เวลาในการพูด 4-5 นาที
4) ระดับชั้น ม.4-6 ใช้เวลาในการพูด 5-6 นาที
3.4 เวลาในการพูด (บวก /ลบ 30 วินาทีไม่ตัดคะแนน) ใช้เวลาน้อยหรือมากกว่า เวลาที่กาหนดตัด นาทีละ 1 คะแนน (ไม่รวมเวลาที่ใช้ในการแนะนำตัว)
3.5 ขณะพูดห้ามใช้อุปกรณ์ เอกสารอื่นๆ และบันทึกช่วยจำประกอบการพูด
3.6 ผู้เข้าแข่งขันที่มาช้ากว่ากำหนดเวลาให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการ เป็นสิทธิ์ขาด

4. เกณฑ์การให้คะแนน 100 คะแนน
4.1 ด้านเนื้อหา (Content) 35 คะแนน
ประกอบด้วย
-เนื้อหามีความถูกต้องตามหัวเรื่องที่กำหนด (Accuracy and Consistency) 15 คะแนน
-ความถูกต้องของภาษาในรูปแบบการพูดสุนทรพจน์ (Form & Organizing of Speech) 10 คะแนน
-ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative)10 คะแนน
4.2 ด้านความคล่องแคล่วในทักษะภาษา (Language Competence and Fluency)45 คะแนน
ประกอบด้วย
-การใช้ภาษาเหมาะสมกับระดับชั้น (Difficulty Level) ด้านศัพท์ (Vocabulary)
โครงสร้างและคำสันธาน (Structure & Connectors) 15 คะแนน
-ความสามารถด้านการออกเสียงการเน้นคำ การลงเสียงสูงต่ำ
การเน้นคำสำคัญในประโยคและจังหวะ การหยุดในช่วงจบประโยค
(Pronunciation, stress, Intonation, rhythm, pausing and pace)20 คะแนน
-การใช้น้าเสียงสอดคล้องกับเนื้อหาที่พูด (Tone)10 คะแนน
4.3 ความสำเร็จในการถ่ายทอด (Presentation) 15 คะแนน ประกอบด้วย
-ความสามารถในการสื่อถึงผู้ฟัง (Communication) 10 คะแนน
-บุคลิก ท่าทาง (Personality)5 คะแนน
4.4 พูดในระยะเวลาที่กาหนด (Time)5 คะแนน
หมายเหตุ กรณีนักเรียนพูดไม่ตรงตามหัวข้อที่จับสลากได้ กรรมการจะพิจารณาตัดคะแนนในส่วน
เนื้อหาในข้อเกณฑ์การให้คะแนนข้อ 4.1 (Content) จานวน 35 คะแนน

5.เกณฑ์การตัดสิน

ร้อยละ 80 –100 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง

ร้อยละ 70 –79 ได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน

ร้อยละ 60 –69 ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดง ได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 ได้รับเกียรติบัตร เว้นแต่กรรมการมีความเห็นเป็นอย่างอื่น ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด

6. คณะกรรมการตัดสินการแข่งขัน ระดับชั้นละ 3 คนหรือ 5คน และกรรมการควบคุมการแข่งขัน ระดับชั้น ละ 3 คน

คุณสมบัติของคณะกรรมการ

กรรมการตัดสินเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ประกอบด้วย

1. เจ้าของภาษา 1 คน (Native Speaker)

2. ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ / ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาอังกฤษ

ข้อควรคำนึง

-กรรมการต้องไม่ตัดสินในกรณีสถานศึกษาของตนเข้าแข่งขัน

-กรรมการที่มาจากครูผู้สอนควรแต่งตั้งให้ตัดสินในระดับชั้นที่ทาการสอน

-กรรมการควรมีที่มาจากสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นอย่างหลากหลาย

-กรรมการควรให้ข้อเสนอแนะเติมเต็มให้กับนักเรียนที่ชนะในลำดับที่ 1-3

สถานที่ทาการแข่งขัน

จัดสถานที่แข่งขันเป็น 3 ห้อง ดังนี้

ห้องที่ 1 ห้องเก็บตัวผู้เข้าแข่งขันทุกคนหลังจากลงทะเบียนรายงานตัวแล้ว

ห้องที่ 2 ห้อง / มุม สาหรับนักเรียนที่จับสลากหัวข้อแล้ว เพื่อเตรียมตัวแข่งขันบนเวที

ห้องที่ 3ห้องแข่งขัน ควรมีเวทีที่เหมาะสม และมีผู้เข้าชมได้

ต้องมีผู้ประสานงานที่มีคุณสมบัติในการช่วยให้นักเรียนผ่อนคลายจากความตื่นเต้น กังวล

หมายเหตุ

1.  อนุญาตให้มีผู้ชมได้ แต่ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูป หรือยกป้ายหรือส่งเสียงเชียร์ ไม่อนุญาตให้สนทนาทางโทรศัพท์ในห้องแข่งขันและต้องปิดเสียงโทรศัพท์ตลอดการแข่งขัน

2. ไม่อนุญาตให้บุคคลใด ๆ เข้า-ออกห้องแข่งขันในระหว่างที่นักเรียนกาลังพูด

7.การเข้าแข่งขันระดับชาติ

7.1 ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด ลำดับที่ 1 -3 จากการแข่งขันระดับภาคจะได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในระดับชาติ

7.2 ในกรณีที่มีผู้ชนะลำดับสูงสุดได้คะแนนเท่ากันมากกว่า 3 คน ให้พิจารณาลำดับที่ตามลาดับข้อของเกณฑ์การให้คะแนน เช่น มีผู้ที่ได้คะแนนข้อที่ 1 เท่ากันให้ดูข้อที่ 2 ผู้ที่ได้คะแนนข้อที่ 2 มากกว่าถือเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าข้อที่ 2 เท่ากัน ให้ดูในข้อถัดไป กรณีคะแนนเท่ากันทุกข้อให้ประธานกรรมการตัดสินเป็นผู้ชี้ขาด

อ้างอิง : http://www.sillapa.net/

ขอ 5 ดาวให้บทเรียนด้วยครับผม...

คลิกดาวดวงที่ขวามือสุดเลยครับครับ...

Average rating 4.2 / 5. Vote count: 6

ยังไม่มีใครให้ดาว คุณคือคนแรก....

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *