subjunctive คืออะไร และใช้ยังไง มาเรียนรู้ Subjunctive Mood ให้เคลียร์กันไปเลย

Subjunctive หรือ subjunctive mood มันก็คือหนึ่งใน mood ทั้ง 3 ของภาษาอังกฤษนั่นเองครับ มีอะไรบ้าง และใช้ยังไง วันนี้เราจะมาศึกษาเรียนรู้ เอาให้เคลียร์กันไปเลย

Subjunctive mood คืออะไร

Subjunctive mood เรียนสั้นๆว่า subjunctive นะครับ คำว่า Mood อ่านว่า มูด ความหมายทั่วไป แปลว่า อารมณ์

แต่ Mood ในทางหลักภาษา หมายถึง จุดมุ่งหมายในการพูด กล่าวคือ ที่พูดออกไปนั้น “เพื่ออะไร” ในหลักภาษาโบราณจำแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. indicative mood
  2. imparative mood
  3. subjunctive mood

ประเภท 1-2 ไม่ขอพูดเยอะนะครับ เข้าใจกันดีอยู่แล้ว แต่อันที่ 3 พลาดไม่ได้นะครับ

1. indicative mood

mood นี้เป็นการบอกกล่าว และ ตั้งคำถาม หรือประโยคบอกเล่า ประโยคคำถามนั่นแหละครับ

  • You’re from Thailand.
    คุณมาจากประเทศไทย
  • You’re not very tall.
    คุณตัวไม่สูงมาก
  • Are you from Thailnd?
    คุณมาจากประเทศไทยใช่ไหม

2. imperative mood

Mood นี้เป็นการขอร้อง และออกคำสั่ง หรือประโยคขอร้อง ประโยคคำสั่งนั่นไง

  • Please stand up.
    กรุณายืนขึ้น
  • Could you help me?
    คุณช่วยฉันหน่อยได้ไหม
  • Sit down!
    นั่งลง
  • Get out!
    ออกไป

3. subjunctive mood

Mood นี้เป็นการแสดงความปราถนา จินตนาการ คำแนะนำ คำสั่ง

Mood นี้คือหัวใจสำคัญของ Mood เพราะมันได้ฉีกกฎเกณฑ์ของไวยากรณ์ที่เราเคยเรียนมาทั้งหมดในระดับพื้นฐาน จะว่าไปแล้ว มันคือโครงสร้างของประโยคที่แยกออกมาจาก เรื่อง Tense ก็ว่าได้

ประโยค Subjuctive mood สิ่งที่เราต้องโฟกัสก็คือ คำกริยา เพราะว่าคำกริยาจะไม่ผันไปตามพจน์ (เอกพจน์ พหูพจน์) หรือตามกาล (tense) ดังที่เราเคยเรียนมา ไปชมตัวอย่างพร้อมคำอธิบายให้เข้าใจกันก่อนนะครับ

Rule 1. ไม่เปลี่ยนตามพจน์

  • I suggest that he sees a doctor.
    ฉันแนะนำว่าให้เขาพบหมอ

ประโยคนี้น่าจะถูกนะครับ โดยใช้หลัก ประธานคนเอกพจน์ กริยา เติม s แต่ผิดครับ

  • I suggest that he see a doctor.
    ฉันแนะนำว่าให้เขาพบหมอ

ที่ถูกไม่ต้องเติม s ครับ คำกริยาจะไม่เปลี่ยนไปตามพจน์

เอกพจน์ พหูพจน์คืออะไร

Rule 2. ไม่เปลี่ยนตามกาล

  • Yesterday I suggest that you saw a doctor.
    เมื่อวานฉันแนะนำว่าให้คุณพบหมอ

ประโยคนี้น่าจะถูกนะครับ โดยใช้หลัก เหตุการณ์ในอดีต ใช้กริยาช่อง 2 แต่ผิดครับ

  • Yesterday I suggest that you see a doctor.
    เมื่อวานฉันแนะนำว่าให้คุณพบหมอ

ที่ถูกให้ใช้กริยาช่อง 1 คำกริยาจะไม่เปลี่ยนไปตามกาล (tense)

สรุป Tense 12

ประเภทของ Subjunctive Mood

Subjunctive มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่

  1. present subjunctive (ใช้กริยาช่อง 1)
  2. past subjunctive (ใช้กริยาช่อง 2)

1. Present Subjunctive

present subjunctive คือ ประโยค subjunctive ในรูปกริยาปัจจุบันกาล (present simple tense) และเป็น base form คือไม่ต้องเติม s หรือ es แม้เป็นประธานเอกพจน์ก็ตาม เช่น

  • be เป็น อยู่ คือ
  • see พบ
  • eat กิน
  • drink ดื่ม
  • etc.

ประโยค present subjunctive มักจะอยู่ในรูป that clause กล่าวคือ อนุประโยคที่ขึ้นต้นด้วย that เช่น

  • I suggest that he see a doctor.
    ฉันแนะนำว่าให้เขาพบหมอ
  • main clause คือ I suggest
  • that clause คือ that he see a doctor

สังเกตได้ว่า see อยู่ในรูป present simple tense และ คำกริยา see อยู่ในรูป base form

Main clause จะอยู่ในรูปอดีต หรือปัจจุบันก็ได้ ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ เช่น

ณ เวลานี้ ฉันเห็นคุณซีดเซียว ดูไม่ดีเลย ฉันเลยแนะนำว่าคุณควรจะไปพบหมอนะ

  • I suggest that you see a docter.

เมื่อวานนี้ ฉันแนะนำคุณไปแล้วนะ แต่คุณไม่ไป วันนี้ต้องขอตำหนิสักหน่อย

  • I suggested that you see a docter.

ประโยค present subjunctive มักจะตามหลังคำเหล่านี้

คำศัพท์ต่อไปนี้ ความหมายประมาณว่า จำเป็น ต้องการ สั่ง แนะนำ

  • ตามหลังคุณศัพท์ necessary, advisable, crucial, desirable, essential, important, urgent, vital
  • ตำหลังกริยา suggest, insist, recommend, advise, ask, command, order, request
  • ตามหลังคำนาม suggestion, recommendation, command, order, request
  • It is necessary that she see a doctor.
    มันจำเป็นที่หล่อนต้องพบหมอ
    ความหมาย : หล่อนต้องพบหมอนะ ไม่ไปแย่แน่
  • It is important that they be careful.
    มันมีความสำคัญที่เขาต้องระมัดระวัง
    ความหมาย: พวกเขาจะต้องระมัดระวังนะ ทำงานกับเครื่องจักรมันอันตราย
  • I suggest that the boy wait in the room.
    ผมแนะนำให้เด็กชายคอยในห้อง
  • I made a suggestion that the boy wait in the room.
    ผมแนะนำให้เด็กชายคอยในห้อง
  • Sam insisted that Jane eat my apple.
    แซมยืนยันว่าเจนกินแอปเปิ้ลของฉัน
  • I advice that he come tomorrow.
    ผมแนะนำว่าให้เขามาพรุ่งนี้

ในภาษาพูด เราสามารถใช้ shoud หรือ ฟอร์มของกริยาตาม Tense ของประโยคก็ได้

  • It is necessary (that) she should see a doctor.
    มันจำเป็นที่หล่อนควรพบหมอ (หล่อนควรจะพบหมอ)
    (present tense)
  • It is important (that) they are careful.
    มันมีความสำคัญที่เขาต้องระมัดระวัง (พวกเขาต้องระมัดระวัง)
    (present tense)
  • Sam insisted (that) Jane ate my apple.
    แซมยืนยันว่าเจนกินแอปเปิ้ลของฉัน
    (past tense)

ถ้าเป็นประโยคปฏิเสธ ให้เติม not ก่อนคำกริยา

  • Sam insisted that Jane not eat my apple.
    แซมยืนยันว่าเจนไม่ได้กินแอปเปิ้ลของฉัน

2. Past Subjunctive

past subjunctive คือ ประโยค subjunctive ในรูปกริยาอดีตกาล (past tense) เช่น

  • were เป็น อยู่ คือ
  • would จะ
  • saw พบ
  • ate กิน
  • drank ดื่ม
  • etc.

หลักการใช้ Past subjunctive

ใช้กับ If clause

subjunctive ที่ใช้ใน If cluase จะใช้ในกรณีที่เป็นเรื่องเพ้อฝัน ไม่จริง ออกแนวจินตนาการ นั่นคือ If clause type 2 นั่นเอง

  • If I won the lottery, I would travel around the world.
    ถ้าฉันถูกล็อตเตอรี ฉันจะเดินทางรอบโลก (ชาตินี้จะถูกหรือเปล่า)
  • If I saw aliens, I would travel in space with them.
    ถ้าฉันมนุษย์ต่างดาว ฉันจะไปเที่ยวอวกาศกับพวกเขา (มันมีจริงไหม UFO)
  • If an angel came to me, I would ask her for three wishes.
    ถ้านางฟ้ามาหาฉัน ฉันจะขอพรสามประการจากนางฟ้า (นิยายไปถึงไหนเนี่ย)

ใช้กับ If… were

ปกติเราจะเรียนรู้มาว่า

  • I, He, She, It ใช้ was
  • You, We, They ใช้ were

แต่ในประโยค Subjunctive จะใช้ were กับทุกประธาน

  • If I were you, I wouldn’t do that.
    ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันจะไม่ทำเช่นนั้น (เพราะฉันไม่ใช่คุณนะ)
  • If he were rich, she would marry him.
    ถ้าเขารวย หล่อนจะแต่งงานกับเขา (ก็เขาไม่ได้รวยอ่ะ)
  • If she were young, she could lift that heavy bed.
    ถ้าหล่อนเป็นสาวอยู่ หล่อนสามารถยกเตียงหนักๆนั้นได้แล้ว (ตอนสาวแข็งแรง ตอนนี้แก่เล้ว)

ถึงแม้ว่าภาษาพูดในบางภูมิภาคจะใช้ was แต่ในภาษาเขียนแนะนำให้ใช้ were นะครับ

If he was rich, she would marry him. (ภาษาพูด)
If he were rich, she would marry him. (ภาษาเขียน)

If clause คืออะไร

ตามหลังสำนวนเหล่านี้

  • It’s time… ได้เวลา
  • It’s high time… ได้เวลา
  • It’s about time… ได้เวลา
  • If only… ถ้า
  • …as if… ราวกับ
  • …as though…ราวกับ
  • I wish… ก็ดี
  • would rather..ต้องการ
  • It’s time we went home.
    ได้เวลาที่พวกเรากลับบ้านแล้ว
  • If only I could turn back time.
    ถ้าฉันสามารถย้อนเวลากลับได้
  • If only she had told me the truth.
    ถ้าหล่อนบอกความจริงกับฉันมันก็ดีอ่ะ
  • I wish (that) I were rich.
    ถ้าฉันรวยก็ดี
  • I wish (that) I had watched that movie.
    ถ้าฉันได้ดูหนังเรื่องนั้นมันก็ดีอ่ะ
  • She behaves as if she were my boss.
    หล่อนทำราวกับว่าหล่อนเป็นเจ้านายของฉัน
  • I would rather (that) you helped me.
    ฉันต้องการให้คุณช่วยฉัน

ขอ 5 ดาวให้บทเรียนด้วยครับผม...

คลิกดาวดวงที่ขวามือสุดเลยครับครับ...

Average rating 4.7 / 5. Vote count: 182

ยังไม่มีใครให้ดาว คุณคือคนแรก....

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *